เหล็กเสริมที่ใช้ในงานวิศวกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

เนื่องจากเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมเคยได้นำเอาเรื่องชนิดของโครงสร้างเหล็กรูปพรรณมาทำการอธิบายให้กับเพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจกันไปแล้วว่าจะประกอบไปด้วยประเภทของเหล็กกี่ประเภท ก็มีคำถามเข้ามาจากน้องท่านหนึ่งในทำนองที่ว่า ยังไม่ค่อยเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “โครงสร้างเหล็กเสริมที่ใช้ในงานวิศวกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก” กับ “โครงสร้างเหล็กรูปพรรณที่ใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็ก” ผมจึงคิดว่า จะมาทำการอธิบายประเภทของเหล็กเสริมทั้ง 2 ชนิดนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้ทำความรู้จักไปพร้อมกัน ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นครั้งที่ 1 ที่ผมจะทำการพูดถึง “โครงสร้างเหล็กเสริมที่ใช้ในงานวิศวกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก” นะครับ

 

โดยที่ผมคงต้องเริ่มต้นทำการอธิบายจากเรื่อง “คุณสมบัติทั่วไปของเหล็กเสริมคอนกรีต” ให้เพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจกันก่อนเพราะว่าเหล็กเสริม หรือ REINFORCING BARS ซึ่งใช้ในงานก่อสร้างทั่วๆ ไปเป็นเหล็กกล้าละมุน MILD STEEL มีปริมาณคาร์บอนผสมอยู่ต่ำคือไม่เกิน 0.30% ผลิตขึ้นโดยวิธีรีดร้อน หรือ HOT ROLLED โดยการหลอมเหลวเหล็กแท่งแล้วนำมารีดออกด้วยลูกกลิ้งให้มีขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ โดยหน่วยน้ำหนักของเหล็กเสริมจะอยู่ที่ประมาณ 7850 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

 

สำหรับเหล็กเสริมคอนกรีตนั้นจะมีทั้งแบบ เหล็กกลมแบบผิวเรียบ หรือ ROUND BAR และ เหล็กเส้นเส้นกลมแบบข้ออ้อย หรือ DEFORMED BAR โดยที่มาตรฐานที่ใช้ควบคุมคุณภาพเหล็กเส้นในประเทศไทยคือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) โดยความแตกต่างของประเภทเหล็กนั้นจะอยู่ที่ผิวและกำลังเป็นหลักดังรายการต่อไปนี้นะครับ

1.เหล็กเส้นกลมแบบผิวเรียบ

เหล็กเส้นกลมแบบข้ออ้อยนั้นจะมีผิวโดยรอบความยาวเป็นผิวมันและเรียบเมื่อปรากฏอยู่ในแบบหรือรูปแบบรายการก่อสร้างก็มักที่จะใช้สัญลักษณ์เป็นอักษรย่อภาษาอังกฤษว่า RB ซึ่งมาจากคำว่า ROUND BARS และจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 6 มิลลิเมตร ไปจนถึง 25 มิลลิเมตร และจะมีชั้นคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) คือ SR24 หมายถึงมีค่ากำลังต้านทานแรงดึงจุดครากของเหล็กไม่น้อยกว่า 2400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร การกำหนดในแบบวิศวกรรมโครงสร้างมักใช้อักษรย่อ RB ตามด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น 4RB12 หมายถึงใช้เหล็กเส้นกลมแบบผิวเรียบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 12 มิลลิเมตร จำนวน 4 เส้น ในตารางที่ 1 เพื่อนๆ จะสามารถดูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เส้นรอบรูป น้ำหนักต่อเมตรและเนื้อที่หน้าตัดของเหล็กเสริมข้ออ้อยขนาดต่างๆ เอาไว้ได้นะครับ

 

2.เหล็กเส้นเส้นกลมแบบข้ออ้อย

เหล็กเส้นกลมแบบข้ออ้อยนั้นจะมีผิวโดยรอบความยาวเป็นปล้องหรือครีบเกลียวและเมื่อปรากฏอยู่ในแบบรายการก่อสร้างมักใช้สักลักษณ์เป็นอักษรย่อภาษาอังกฤษว่า DB ซึ่งย่อมาจากคำว่า DEFORMED BAR และจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 มิลลิเมตร ไปจนถึง 32 มิลลิเมตร และชั้นคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำหนดไว้คือ SD30 SD40 และ SD50 หมายถึงมีค่ากำลังต้านทานแรงดึงจุดครากของเหล็กไม่น้อยกว่า 3000 4000 และ 5000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ สำหรับการกำหนดในแบบวิศวกรรมโครงสร้างมักใช้อักษรย่อ DB ตามด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น 4DB12 หมายถึง ใช้เหล็กเส้นกลมแบบผิวข้ออ้อยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 12 มิลลิเมตร จำนวน 4 เส้น ในตารางที่ 2 เพื่อนๆ จะสามารถดูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เส้นรอบรูป น้ำหนักต่อเมตรและเนื้อที่หน้าตัดของเหล็กเสริมข้ออ้อยขนาดต่างๆ เอาไว้ได้นะครับ

 

สำหรับในครั้งต่อไปผมจะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่อง “คุณสมบัติเชิงกล” ของเหล็กเสริมที่ใช้ในงานวิศวกรรมคอนกรีตเสริมเหล็กกันต่อให้เสร็จ อย่างไรหากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามและรออ่านบทความนี้ของผมได้ในการโพสต์ครั้งหน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร

#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง

#ความรู้เรื่องเหล็กเสริมที่ใช้ในงานวิศวกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก

#ตอนที่1

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com