สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) นะครับ
ที่บริเวณ โคน หรือ ขอบล่าง ของโครงสร้างเสา คสล ไม่ว่าจะเป็น เสาช่วงกลาง หรือ เสาต้นริม ก็ดีจะมีรอยร้าวเกิดขึ้นตลอดความยาวรอบๆ ตัวโครงสร้างเสาทุกๆ ต้นเลย ซึ่งคำถามก็นี้ คือ เพื่อนๆ มีความคิดเห็นว่า สาเหตุของรอยร้าวที่เกิดขึ้นในรูปเหล่านี้นั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใดเป็นหลักครับ?
ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนคงจะสามารถตอบกันได้ถูกเกือบหมด เพราะ เรามักที่จะสามารถพบปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นได้เกือบ 100% ภายใน โครงการบ้านเดี่ยวของโครงการหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ หรือ โครงการทาวน์เฮ้าส์ หรือ โครงการทาวน์โฮมทั่วๆ ไปเลยนะครับ
ใช่แล้วครับ รอยร้าวที่ขึ้นตลอดความยาวรอบๆ ตัวโครงสร้างเสาทุกๆ ต้นนั้นก็เกิดจากการที่พื้น คสล นั้นเกิดการทรุดตัวลงไป โดยเพื่อนๆ จะเห็นได้จากในรูปเหล่านี้ว่าพื้น คสล เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพื้น คสล ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณโรงรถแทบทั้งสิ้น ส่วนสาเหตุที่พื้น คสล เหล่านี้เกิดการทรุดตัวลงไปนั้นก็เป็นเพราะพื้น คสล เหล่านี้เป็นพื้นแบบแผ่ (BEARING SLAB) หรือ พื้น คสล วางบนดิน (SLAB ON GROUND) ซึ่งจะมีดินที่คอยทำหน้าที่รองรับพื้นเหล่านี้
เมื่อดินที่คอยทำหน้าที่รองรับพื้น คสล เหล่านี้เกิดการทรุดตัวลงไป และ หากว่าตัวพื้น คสล นั้นไม่ได้มีการยึดติดกันเข้ากับหัวเสาอย่างสมบูรณ์ (เหมือนกันกับในรูปภาพ) ก็จะทำให้พื้น คสล ที่เคยอยู่ในตำแหน่งเดิม (เส้นประสีแดง) นั้นทรุดตัวลงไปที่ตำแหน่งใหม่ (เส้นประสีเหลือง) และ สาเหตุที่เรามักจะพบเห็นว่าบริเวณโคนของโครงสร้างเสานั้นจะเกิดการแตกเป็นคล้ายๆ รูปทรงกรวย นั่นเป็นเพราะว่าใต้โครงสร้างเสานั้นมักที่จะมีโครงสร้างฐานราก คสล อยู่เสมอ จึงทำให้พื้น คสล ที่ทรุดตัวลงไปนั้นไม่เกิดการทรุดตัวลงไปในแนวดิ่งแบบตรงๆ แต่มักจะเห็นได้ว่าจะมีรอยแตกร้าวอยู่อย่างน้อย 2 รอยเสมอนั่นเองนะครับ
เราจะพบสามารถปัญหานี้ได้ใน โครงการบ้านเดี่ยวของโครงการหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ หรือ โครงการทาวน์เฮ้าส์ หรือ โครงการทาวน์โฮมทั่วๆ ไปเนื่องด้วยธรรมชาติของโครงการเหล่านี้ คือ นายทุน หรือ เจ้าของโครงการ ก็จะเข้ามากว้านซื้อที่ดินราคาถูก ซึ่งมักจะเป็น ที่ร่องสวน ที่นา ที่สวน เพราะ ที่ดินเหล่านี้มีราคาต้นทุนที่ไม่สูง จากนั้นก็จะทำการปรับและถมดินเดิมด้วยดินถมใหม่เพื่อที่จะทำถนนและสาธารณูปโภคของโครงการ แต่ ดินเหล่านี้ก็มักที่จะเป็น ดินเหนียว ซึ่งเราทราบก็ดีว่าลักษณะและคุณสมบัติทางด้านความแข็งแรงของ ดินเหนียว นั้นจะถือได้ว่าเป็นดินที่มีความอ่อนแอมากๆ กล่าวคือ ดินเหนียว นั้นมีความเหนียว แต่ ไม่มีความแน่นตัว ประกอบกับเหตุผลทางด้านของความต้องการที่จะทำให้ต้นทุนในงานก่อสร้างนั้นออกมาต่ำที่สุด เค้าจึงมักที่จะไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องของการพัฒนากำลังของดิน (SOIL STRENGTH IMPROVEMENT) เหล่านี้เลย พอทำการก่อสร้างโครงสร้างจำพวก ถนน หรือ ที่จอดรถ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ไม่ได้วางอยู่บนโครงสร้างเสาเข็มยาว (LONG PILE) หรือ อาจจะใช้เสาเข็มในการรับ นน แต่ก็จะเป็นโครงสร้างเสาเข็มสั้น (SHORT PILE) ซึ่งปลายของเสาเข็มนั้นก็หยั่งอยู่บนชั้นดินอ่อน จึงไม่สามารถที่จะต้านทานการทรุดตัวใดๆ ได้มากนัก พอเวลาผ่านไปไม่นานก็จะพบเห็นว่าโครงสร้างเหล่านี้จะเกิด การแตก การร้าว เนื่องมาจาก การทรุดตัว ของชั้นดินนะครับ
ส่วนแนวทางในการป้องกันมิให้ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างที่จะยากครับ เพราะ อย่างที่เราทราบกันว่าทุกอย่างนั้นเป็นต้นทุน ครั้นจะคาดหวังให้เจ้าของโครงการนั้นทำการใส่เสาเข็มยาวลงไปบนโครงสร้างเหล่านี้เพื่อป้องกันมิให้โครงสร้างเหล่านี้เกิดการทรุดตัว ก็จะทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างนั้นเพิ่มสูงขึ้น หากจะขายบ้านในราคาที่เหมือนกันกับราคาในท้องตลาดปัจจุบันก็จะทำให้พวกเค้านั้นได้รับกำไรน้อยลงไป
ดังนั้นจึงเหลือเพียงวิธีในการแก้ปัญหานี้แทน นั่นก็คือผู้ที่จะซื้อบ้านควรต้อง สอบถาม หรือ ทำความเข้าใจ เสียก่อนว่า โครงการได้เตรียมโครงสร้างในส่วนเหล่านี้ไว้อย่างไร เพราะ บางโครงการนั้นก็ยังถือว่าดีนะครับ เช่น โครงการจะลงเสาเข็มยาวไว้ให้ แต่ ไม่ได้ทำโครงสร้าง พื้น หรือ ฐานราก คสล เอาไว้รองรับโครงสร้างเหล่านี้ พูดง่ายๆ คือแบ่งรับแบ่งสู้ พบกันครึ่งทางกับทางผู้ซื้อบ้าน คือ ทางเจ้าของโครงการนั้นลงเสาเข็มไว้ให้ ส่วนผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องมาทำโครงสร้างเอง เป็นต้น แต่ หากไม่เช่นนั้นแล้ว และ เรามิอาจที่จะรับกรณีที่พื้นโรงรถนั้นเกิดการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการทรุดตัวของดินได้ก็คงจะเหลือวิธีการสุดท้ายแล้ว นั่นก็คือ ภาระในการการพัฒนากำลังของดินก็ต้องตกเป็นภาระของผู้ซื้อบ้านแต่ละหลัง เช่น บางคนอาจจะเลือกใช้เสริมความแข็งแรงของดินโดยตรงโดยวิธีการบดอัดดินให้มีความแข็งแรงสูงมากยิ่งขึ้น บางคนก็อาจจะไม่เลือกทำการเสริมความแข็งแรงของดินโดยตรง แต่ ก็จะไปเลือกทำการเสริมมิให้โครงสร้างพื้น คสล นั้นทรุดตัวตามดินลงไปด้วยการใช้โครงสร้างเสาเข็มแทนก็ได้ เป็นต้น
ทั้งนี้การที่เราจะสะดวกและเลือกวิธีการใดผมขอแนะนำว่า เพื่อนๆ ควรที่จะขอคำปรึกษาจากทางวิศวกรผู้มีประสบการณ์ในการออกแบบและก่อสร้างเป็นหลักนะครับ เนื่องจาก “ดิน” นั้นเป็นอะไรที่เราไม่ควรจะมานั่ง “เดา” หรือ “มั่ว” เพราะ แทนที่เราจะทำให้เกิดความประหยัด และ ความมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา มันก็อาจจะกลายเป็น “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” หรือ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” ก็เป็นได้นะครับ
สุดท้ายนี้ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ของภูมิสยามก็ถือได้ว่าเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพมากวิธีการหนึ่งครับ เพราะ สามารถที่จะตอกลึกลงไปจนถึงชั้นดินที่มีความแข็งแรงเพียงพอได้ และ ยังสามารถที่จะทำงานการตอกเสาเข็มใกล้หรือชิดกับโครงสร้างเดิมได้โดยไม่เป็นการรบกวนโครงสร้างเดิมอีกด้วยครับ หากสนใจก็เชิญนะครับ เพราะ เรามีวิศวกรที่มีประสบการณ์ที่จะคอยให้คำแนะนำและให้ปรึกษาแก่เพื่อนๆ ทุกคน ซึ่งจะคอยให้บริการแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านอยู่ตลอดเวลาเลยครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com