ถาม-ตอบชวนสนุก – ประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ


จากรูปโครงสร้างหลังคายื่น หรือ CANOPY ROOF STRUCTURE A B และ C ที่แสดงอยู่ในโพสต์ๆ นี้ โครงสร้างหลังคายื่น แบบใดที่จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนรับแรงอัดเพียงอย่างเดียว หรือ COMPRESSION ONLY STRUCTURAL ELEMENTS บ้างครับ ?

#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาโครงสร้างหลังคายื่น
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นวันนี้เราจะมาช่วยกันหาคำตอบว่าโครงสร้างหลังคายื่น แบบใดที่จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนรับแรงอัดเพียงอย่างเดียวไปพร้อมๆ กันเลยนะครับ


ตามที่ผมเคยได้แชร์ความรู้ไปก่อนหน้านี้ว่าหากจะทำการจำแนกประเภทหลักๆ ของ โครงสร้างหลังคาแบบยื่นเราก็จะสามารถแบ่งออกได้ตามรูป A ซึ่งจะเป็นโครงสร้างหลังคายื่นที่ไม่อาศัยชิ้นส่วนอื่นๆ ในการรับแรง รูป B ซึ่งจะเป็นโครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงดึงและสุดท้ายรูป C ซึ่งจะเป็นโครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงอัด
สาเหตุที่ผมพูดเช่นนี้เป็นเพราะว่าหลังคายื่นในรูปที่ B และ C นั้นจะต้องรับแรงกระทำในแนวดิ่งในทิศทางลงเพียงแค่ทิศทางเดียวตลอดอายุการใช้งานของตัวโครงสร้าง ก็จะทำให้หลังคายื่นทั้งสองประเภทนี้จะมีความต้องการคุณลักษณะของจุดต่อที่เหมือนๆ กันได้แต่ในความเป็นจริงนั้นตลอดอายุการใช้งานของตัวโครงสร้างตัวหลังคายื่นของเราย่อมที่จะมีโอกาสจะต้องรับแรงกระทำในแนวดิ่งในทิศทางขึ้น รวมถึงแรงกระทำในแนวราบบ้าง เช่น แรงยกเนื่องจากการตีกลับของลม หรือ UP-LIFT WIND FORCE เป็นต้น

ภายหลังจากที่ผมได้โพสต์ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วว่า ลักษณะของชิ้นส่วนที่เป็นชิ้นส่วนโครงสร้างที่จะทำหน้าที่รับแรงดึงเพียงอย่างเดียวนั้นจะมีลักษณะเด่นตรงที่ชิ้นส่วนนั้นๆ จะต้องมีขนาดหน้าตัดที่ค่อนข้างจะเล็กมากๆ กล่าวคือ หน้าตัดนั้นๆ แทบที่จะมีค่าความแข็งเกร็งตามแนวแกน หรือ AXIAL STIFFNESS เท่ากับศูนย์ ทำให้การใช้งานชิ้นส่วนในลักษณะแบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีแรงตึงภายในชิ้นส่วนของโครงสร้างในระดับหนึ่ง จึงจะทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นๆ มีเสถียรภาพและสามารถที่จะนำไปใช้งานได้ ดังนั้นในรูป B จึงเป็นโครงสร้างหลังคายื่นที่จะมี TENSION ONLY STRUCTURAL ELEMENTS เพียงเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่โครงสร้างหลังคายื่นในรูป B นี้จะมี COMPRESSION ONLY STRUCTURAL ELEMENTS ได้น่ะครับ

ดังนั้นเรามาดูกรณีของรูป C กันบ้าง จะเห็นได้ว่าโครงสร้างหลังคายื่นประเภทนี้ก็จะมีชิ้นส่วนที่ห้อยตัวลงมาทางด้านล่างเพื่อที่จะช่วยในการรับทั้งแรงอัดที่เกิดจากแรงกระทำในทิศทางลงและแรงดึงที่เกิดจากแรงกระทำในทิศทางขึ้นด้วย ดังนั้นรูป C จึงเป็นโครงสร้างหลังคายื่นที่จะประกอบไปด้วยทั้ง COMPRESSION ELEMENT และ TENSION ELEMENT น่ะครับ

สรุปสำหรับปัญหาข้อนี้คำตอบก็คือข้อ D ซึ่งก็คือ ไม่มีโครงสร้างหลังคายื่นในรูปใดๆ เลยที่จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนรับแรงอัดเพียงอย่างเดียว สำหรับรูปโครงสร้างหลังคายื่นที่จะมีความใกล้เคียงมากที่สุดก็คือโครงหลังคายื่นในรูป C ซึ่งก็จะมีชิ้นส่วนที่ห้อยตัวลงมาทางด้านล่างเพื่อช่วยในการรับทั้งแรงอัดที่เกิดจากแรงกระทำในทิศทางลงและแรงดึงที่เกิดจากแรงกระทำในทิศทางขึ้นนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาโครงสร้างหลังคายื่น
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

ต้องการตอกเสาเข็ม
สปันไมโครไพล์
ปรึกษาทีมงาน

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com