หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ
จะเห็นได้ว่าโครงสร้างในรูปๆ นี้ได้วิบัติไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงสร้างๆ นี้อยู่ในรูปแบบที่สูญเสีย เสถียรภาพ และ ความมั่นคง ไปแล้ว ผมจึงอยากจะตั้งคำถามกับเพื่อนๆ ว่า โครงสร้างที่เห็นนี้เป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่อะไร ? และเพื่อนๆ คิดว่าสาเหตุของการวิบัติของโครงสร้างๆ นี้เกิดจากสาเหตุใด ?
เรามาพูดกันถึงชื่อเรียกและหน้าที่ของเจ้าโครงสร้างในรูปๆ นี้ก่อนนะครับ ชื่อของตัวโครงสร้างนั้นอาจจะมีหลายชื่อเรียกนะครับ แต่ ผมจะขอนิยามว่าเป็น โครงสร้างกำแพงรับแรงทางด้านข้าง ที่จะคอยกันน้ำและดิน และ ทำหน้าที่ในการสร้างเสถียรภาพทางด้านข้างให้แก่ คลอง หรือ ทางน้ำเปิด (OPEN CHANNEL) ก็แล้วกันนะครับ เพราะ หลักๆ แล้วหน้าที่ของเจ้าโครงสร้างประเภทนี้ คือ ตัว กำแพง (RETAINING WALL) และ คานค้ำยัน (BRACING BEAM) จะคอยหน้าที่ในการป้องกันมิให้แนวของกำแพงนั้นล้มลงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งนั่นเองนะครับ
ต่อมา เราจะมาพูดคุยและปรึกษากันถึงสาเหตุในการวิบัติของเจ้าโครงสร้างกำแพงรับแรงทางด้านข้างในรูปๆ นี้กันบ้างนะครับ
ทันทีที่ผมเห็นลักษณะของการวิบัติของเจ้าโครงสร้างๆ นี้ผมก็ทำการตั้งข้อสันนิษฐานเลยว่า โครงสร้างขนาดดังกล่าวนี้น่าที่จะต้องเป็นโครงสร้างที่อาศัยฐานรากวางบนเสาเข็ม ดังนั้นสาเหตุของการวิบัติจึงน่าจะเกิดจากการที่ส่วนของ ฐานรากเสาเข็ม ของเจ้าโครงสร้างนี้เกิดการวิบัติไปนะครับ เพราะ เท่าที่ดูในโครงสร้างส่วนบน ไม่ว่าจะเป็นส่วน คานค้ำยัน หรือ กำแพง ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่ ถึงแม้ว่าจะเกิดการเอียงตัวไปมากจนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ ก็ไม่พบร่องรอยการแตกร้าวใดๆ ในโครงสร้างให้เห็นได้จากทางด้านบนเลย ดังนั้นก่อนที่เราจะเสวนากันต่อ ผมต้องขอเท้าความไปที่เรื่องรูปแบบหลักๆ ในการวิบัติของฐานรากก่อนนะครับ
รูปแบบในการวิบัติของ ฐานรากเสาเข็ม จะประกอบไปด้วย 13 ประการหลักๆ ด้วยกัน คือ
1. เสาเข็มนั้นมีความบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์
2. เสาเข็มต้องรับน้ำหนักมากเกินไป
3. เสาเข็มนั้นวางตัวอยู่ในชั้นดินอ่อนและเกิดการกระจายน้ำหนักในรูปแบบที่ไม่เท่ากัน
4. เสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปจากตำแหน่งที่ได้รับการออกแบบไว้
5. การเคลื่อนตัวทางด้านข้างของดินที่อยู่รอบ
6. เสาเข็มที่ใช้ในโครงสร้างเดียวกันนั้นมีความยาวที่ไม่เท่ากัน
7. เสาเข็มที่ใช้ในโครงสร้างเดียวกันนั้นมีความยาวที่เท่ากันแต่วางตัวอยู่บนชั้นดินต่างชนิดกัน
8. เกิดการวิบัติอันเนื่องมาจากกำลังรับแรงแบกทานไม่เพียงพอ
9. เกิดการต่อเติมโครงสร้างและมีการใช้เสาเข็มชนิดเจาะ
10. เกิดแรงดันดินในทิศทางขึ้นกระทำกับเสาเข็ม
11. เกิดแรงฉุดลงขึ้นในเสาเข็ม
12. เกิดการกัดเซาะของดินใต้ฐานราก
13. ดินที่อยู่รอบๆ เสาเข็มนั้นเกิดการยุบตัวไป
จากสาเหตุหลักๆ ทั้ง 13 ประการข้างต้นผมมองว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุ 1 ใน 13 ข้อ หรือ มากกว่า 1 ข้อ ร่วมกันก็เป็นได้ เพราะ จะเห็นได้ว่าลักษณะของการเสียรูปของโครงสร้างๆ นี้มีความผิดปกติตรงที่ ตำแหน่งที่ 1 นั้นเกิดการทรุดตัว ส่วนตำแหน่งที่ 2 แทบจะไม่เกิดการทรุดตัวใดๆ เลย โดยที่ตำแหน่งที่ 1 นั้นจะเป็นอาคาร ดังนั้นอาจจะทำให้มี นน กดทับที่มีขนาดสูงมากๆ กระทำคงค้างอยู่เป็นเวลานาน ในขณะที่ตำแหน่งที่ 2 นั้นจะเป็นพื้นที่โล่ง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแทบจะไม่มี นน กดทับใดๆ กระทำอยู่เลย
ซึ่งหากจะให้ผมตั้งสมมติฐานของการวิบัติ ผมมีความคิดว่าน่าจะเกิดจากหลายๆ ข้อเกิดร่วมกัน นั่นก็คือข้อ 1 5 11 และ 13 เป็นหลักนะครับ สำหรับในส่วนของสาเหตุจริงๆ ของการวิบัติจะเป็นเช่นใด คงจะต้องทำการทดสอบตรวจสอบหลายๆ อย่างออกมาก่อน เราจึงจะฟันธงลงไปได้ว่าสาเหตุจริงๆ ของการวิบัตินั้นเกิดจากกลไกใดเป็นหลักครับ
ยังไงในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและขยายความถึงเรื่องสาเหตุของการวิบัติใน ฐานรากเสาเข็ม กันต่อนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในบทความเหล่านี้ก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันได้ครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
Ref => https://www.facebook.com/bhumisiam
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลจาก อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449