โครงสร้างเหล็กรูปพรรณที่ได้ถูกนำไปใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

 

เนื่องจากเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมเคยได้นำเอาเรื่องชนิดของโครงสร้างเหล็กรูปพรรณมาทำการอธิบายให้กับเพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจกันไปแล้วว่าจะประกอบไปด้วยประเภทของเหล็กกี่ประเภท ก็มีคำถามเข้ามาจากน้องท่านหนึ่งในทำนองที่ว่า ยังไม่ค่อยเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “โครงสร้างเหล็กเสริมที่ใช้ในงานวิศวกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก” กับ “โครงสร้างเหล็กรูปพรรณที่ใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็ก” ผมจึงคิดว่า จะมาทำการอธิบายประเภทของเหล็กเสริมทั้ง 2 ชนิดนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้ทำความรู้จักไปพร้อมกัน โดยที่ในสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการอธิบายถึงเรื่องโครงสร้างเหล็กรูปพรรณที่ใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กในตอนแรกจบไปแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมก็จะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่อง เหล็กรูปพรรณที่ใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กกันต่อในส่วนที่สองให้จบ โดยที่ผมก็จะขอเริ่มต้นทำการพูดถึง วิธีในการที่มาตรฐาน ASTM นั้นได้ใช้ในการจำแนกและแบ่งประเภทของโครงสร้างเหล็กรูปพรรณออกเป็นกี่ประเภทหลักๆ นั่นเองครับ

 

ทั้งนี้มาตรฐาน ASTM นั้นได้ทำการจำแนกและแบ่งประเภทของโครงสร้างเหล็กรูปพรรณแบบรีดร้อนออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน

  1. เหล็กกล้าคาร์บอน หรือ CARBON STEEL
  2. เหล็กกล้าประสมบาง-กำลังสูง หรือ HIGH STRENGTH LOW-ALLOY STEEL
  3. เหล็กกล้าประสม-ชุบแข็ง หรือ HEAT-TREATED CONSTRUCTIONAL ALLOY STEEL
  4.  

โดยที่เหล็กโครงสร้างที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันได้แก่เหล็ก ASTM A36 ซึ่งมีกำลังจุดครากประมาณ 2500 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีกำลังดึงประลัยประมาณ 4000 ถึง 5000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีค่าการยืดหดตัวประมาณร้อยละ 20 เนื่องจากว่าเหล็ก A36 นี้สามารถรับน้ำหนักหรือแรงที่กระทำได้ดีพอควร ไม่มีปัญหาในเรื่องของความแข็งแรงของส่วนโครงสร้าง หรือ STRUCTUAL STIFFNESS ตามที่ได้ระบุไว้ในมาตรฐาน AISC ทั้งนี้เพราะหากเราใช้เหล็กรูปพรรณอื่นๆ ที่มีค่ากำลังสูงขึ้น ถึงแม้ว่าขนาดของหน้าตัดจะเล็กลงไปบ้างแต่ก็จะมีปัญหาในเรื่องของความแข็งแรงของส่วนโครงสร้างตามที่ได้ระบุไว้ในมาตรฐาน AISC ตามมาได้ ในท้ายที่สุดแล้วอาจต้องเลือกใช้ขนาดหน้าตัดเท่ากันกับเหล็ก A36 ซึ่งไม่เป็นการประหยัดแต่อย่างใดเลยนะครับ

สำหรับในประเทศไทยนั้นจะอาศัยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานของโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ โดยที่ได้มีการกำหนดชนิดของโครงสร้างเหล็กรูปพรรณไว้ 2 มาตรฐานด้วยกัน ได้แก่

(1) เหล็กรูปพรรณชนิดรีดร้อน หรือ HOT ROLLED STEEL

หน้าตัดเหล็กรูปพรรณประเภทนี้จะมีการอ้างอิงตาม มอก 1227-2539 เหล็กรูปพรรณชนิดนี้ใช้ในการทำงานส่วนโครงสร้างหลัก เช่น เสา คาน โครงหลังคา เป็นต้น ตัวอย่างของเหล็กประเภทนี้แสดงอยู่ในตัวอย่างรูปที่ 1 เหล็กหน้าตัดของรูปพรรณชนิดนี้จะมีวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วๆ ไป สามารถหาซื่อได้ง่าย ซึ่งก็จะได้แก่หน้าตัด

– เหล็กรูปตัดตัว L หรือ ANGLE SECTION

– เหล็กรูปตัดตัว S หรือ I SECTION

– เหล็กรูปตัดตัว C หรือ CHANNEL SECTION

– เหล็กรูปตัดตัว T หรือ T SECTION

– เหล็กรูปตัดแบบปีกกว้าง หรือ WIDE FLANGE SECTION

– เหล็กกล่อง หรือ TUBE SECTION

– เหล็กท่อกลม หรือ PIPE SECTION

(2) เหล็กรูปพรรณชนิดขึ้นรูปเย็น หรือ COLD FORMED STEEL

หน้าตัดเหล็กรูปพรรณประเภทนี้จะมีการอ้างอิงตาม มอก 1228-2549 เหล็กรูปพรรณชนิดนี้ใช้ในการทำงานส่วนโครงสร้างรอง เช่น โครงผนังเบา โครงฝ้า แปรับแผ่นหลังคา เป็นต้น ในการเลือกใช้เหล็กประเภทนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการเชื่อมเพราะว่าหน้าตัดจำพวกนี้จะค่อนข้างบางมากๆ พอเชื่อมแล้วอาจเกิดการทะลุได้และเมื่อมีความบางมากๆ ก็อาจทำให้เกิดสนิมได้ง่ายกว่าเหล็กรูปพรรณชนิดรีดร้อนด้วย ตัวอย่างของเหล็กประเภทนี้แสดงอยู่ในตัวอย่างรูปที่ 2 เหล็กหน้าตัดของรูปพรรณชนิดนี้อาจจะหาซื้อได้ยากกว่าเหล็กรีดร้อนเพราะจะใช้อยู่ในวงจำกัด ซึ่งก็จะได้แก่หน้าตัด

– เหล็กรูปตัดตัว L หรือ ANGLE SECTION

– เหล็กรูปตัดตัว Z หรือ Z SECTION

– เหล็กรูปตัดตัว C หรือ I SECTION

– เหล็กรูปตัดหมวก หรือ HAT SECTION

 

ทั้งนี้ในการที่จะเลือกทำการออกแบบหน้าตัดเหล็กรูปพรรณให้เกิดความประหยัดสูงสุด ผู้ออกแบบก็มักที่จะต้องทำการเลือกหน้าตัดของโครงสร้างเหล็กรูปพรรณโดยการประเมินจากข้อมูลต่างๆ ของตัวหน้าตัดเองโดยละเอียด เช่น ค่าของพื้นที่หน้าตัด หรือ GROSS SECTIONAL AREA ซึ่งก็จะมีความสัมพันธ์กันกับ ค่าน้ำหนักบรรทุกแบบตายตัวของตัวหน้าตัดโครงสร้างเอง SELF WEIGHT-DEAD LOAD หรือ ค่าของโมเมนต์อินเนอร์เชีย หรือ MOMENT OF INERTIA ค่าของรัศมีไจเรชั่น หรือ RADIUS OF GYRATION เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้หน้าตัดที่ทำการพิจารณาเลือกใช้งานนั้นมีความสามารถดังต่อไปนี้ครับ

– มีเสถียรภาพ หรือ STABILITY ที่ดีและมากเพียงพอต่อการใช้งาน

– มีกำลัง หรือ STRENGTH ที่ดีและมากเพียงพอตามที่มีความต้องการ

– มีความสามารถในการใช้งาน หรือ SERVICEABILITY ที่ดีและมากเพียงพอตามที่มีความต้องการ

– มีความทนทานในการใช้งาน หรือ DURABILITY ที่ดีและมากเพียงพอตามที่มีความต้องการ

– มีน้ำหนักบรรทุกแบบตายตัวของตัวหน้าตัดโครงสร้างเองที่น้อยที่สุด หรือ LIGHTEST SECTION เพื่อให้เกิดความประหยัดในการเลือกใช้งาน

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร

#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง

#ความรู้เรื่องโครงสร้างเหล็กรูปพรรณที่ได้ถูกนำไปใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้าง

#ตอนที่2

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com