รายละเอียดของจุดต่อ ระหว่างโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็ม เพื่อป้องกันกรณีของแรงฉุดดึงลงในดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

 

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

หากว่าเงื่อนไขคือ จากผลการทดสอบตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการพบว่า ดินในโครงการก่อสร้างของเรานั้นมีความวิกฤติว่าจะมีโอกาสเกิด แรงฉุดดึงลง หรือ NEGATIVE SKIN FRICTION FORCE และเพื่อนๆ จะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบโครงสร้างฐานรากแบบใช้เสาเข็ม เพื่อนๆ จะทำการกำหนดรายละเอียดของจุดต่อระหว่างโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มดังข้อใดระหว่าง

  1. ข้อ (A) คือ จะทำการเลือกวางให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นไม่อมเข้าไปในตัวโครงสร้างฐานรากเลย
  2. ข้อ (B) คือ จะทำการเลือกวางให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นอมเข้าไปในตัวโครงสร้างฐานรากแต่ไม่ต้องใส่เหล็กเดือย
  3. ข้อ (C) คือ จะทำการเลือกวางให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นอมเข้าไปในตัวโครงสร้างฐานรากและจะต้องใส่เหล็กเดือยด้วย

 

#โพสต์ของวันเสาร์

#ถามตอบชวนสนุก

 

 

เฉลย

เป็นยังไงกันบ้างครับกับปัญหาข้อนี้ ง่ายมากๆ เลยใช่มั้ยเอ่ย เอาเป็นว่าเพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เรามาเริ่มต้นทำการหาคำตอบให้กับปัญหาข้อนี้ไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่านะครับ

 

เรามาเริ่มต้นดูรูปของรายละเอียดของโครงสร้างในข้อ (A) กันก่อนเลย เราก็จะพบว่าในปัจจุบันพวกเรานั้นแทบจะไม่พบวิธีในการทำงานในลักษณะเหมือนกันกับกรณีนี้หรือหากจะพบก็มีโอกาสน้อยมากๆ นั่นเป็นเพราะว่าหากเราทำการเลือกวางให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นไม่อมเข้าไปในตัวโครงสร้างฐานรากเลยนั่นก็แสดงว่า เราตั้งใจที่จะออกแบบให้ฐานรากนั้นสามารถที่จะขยับเขยื้อนตัวเองในทิศทางๆ ด้านข้างได้โดยอิสระ นั่นเป็นเพราะการวางโครงสร้างเสาเข็มในลักษณะแบบนี้จะไม่ทำให้เกิดการยึดเหนี่ยวระหว่างโครงสร้างเสาเข็มและโครงสร้างฐานรากเลย ซึ่งนั่นย่อมเป็นสิ่งที่พวกเราเหล่าวิศวกรโครงสร้างไม่พึงปรารถนาอย่างแน่นอนเพราะหากว่าดินในโครงการก่อสร้างของเรานั้นมีความวิกฤติว่าจะมีโอกาสเกิดแรงฉุดดึงลงและเราทำให้รายละเอียดระหว่างโครงสร้างเสาเข็มและโครงสร้างฐานรากนั้นไม่เกิดการยึดรั้งซึ่งกันและกันเหมือนกันกับกรณีๆ นี้ นั่นก็เท่ากับว่าเราได้ทำการกำหนดให้โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นมีพฤติกรรมที่จะสามารถเกิดการทรุดตัวลงไปได้โดยอิสระ ซึ่งหากว่าเสาเข็มของเรานั้นมีพฤติกรรมเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็จะเท่ากับว่า โครงสร้างของเราก็มีโอกาสที่จะไม่มีจุดรองรับใดๆ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักอยู่ข้างใต้โครงสร้างนั้นๆ เลย พูดมาถึงตรงนี้ผมคงไม่ต้องทำการอธิบายหรือบรรยายต่อแล้วนะครับว่าการทำเช่นนั้นจะเกิดผลอะไรตามมาบ้าง

ดูรูปของรายละเอียดของโครงสร้างในข้อ (B) กันต่อเลยนะ สำหรับการเลือกวางให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นอมเข้าไปในตัวโครงสร้างฐานรากแต่ไม่ต้องใส่เหล็กเดือยจะมีความแตกต่างออกไปจากกรณีในข้อ (A) เพียงเล็กน้อยตรงที่เป็นการเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโครงสร้างเสาเข็มและโครงสร้างฐานรากให้เกิดขึ้น แต่ เพื่อนๆ ต้องไม่ลืมว่า วัสดุที่นำมาใช้ในการก่อสร้างตัวโครงสร้างเสาเข็มและโครงสร้างฐานรากนั้นก็คือวัสดุตัวเดียวกันนั่นก็คือ วัสดุคอนกรีต ซึ่งพวกเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า วัสดุคอนกรีตนั้นมีคุณสมบัติในการรับกำลังอัดที่ดีแต่ก็จะมีจุดด้อยตรงที่จะมีคุณสมบัติในการรับกำลังดึงที่แย่มากๆ ซึ่งแน่นอนว่าหากว่าดินในโครงการก่อสร้างของเรานั้นมีความวิกฤติว่าจะมีโอกาสเกิดแรงฉุดดึงลงและจุดต่อระหว่างโครงสร้างเสาเข็มและโครงสร้างฐานรากนั้นไม่มีความสามารถที่จะทำการถ่ายแรงดึงที่เกิดขึ้นนี้ได้ ดังนั้นต่อให้โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นอมเข้าไปในตัวโครงสร้างฐานรากจริง ก็ต้องไม่ลืมว่าการทำเช่นนั้นไม่ได้เป็นการป้องกันไม่ให้โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นมีโอกาสที่จะเกิดการหลุดหรือแยกตัวออกจากโครงสร้างฐานรากแต่อย่างใดเลยนะครับ

 

สำหรับการทำตามรายละเอียดของโครงสร้างในข้อ (C) ก็คือ การเพิ่มรายละเอียดของเหล็กเดือยเข้าไปในจุดต่อระหว่างตัวโครงสร้างเสาเข็มและโครงสร้างฐานรากก็จะเป็นการแก้ไขจุดบกพร่องของเจ้าวัสดุคอนกรีต นั่นก็คือ การใส่เหล็กเดือยก็คือการเพิ่มชิ้นส่วนที่จะเข้ามาช่วยให้จุดต่อระหว่างตัวโครงสร้างเสาเข็มและโครงสร้างฐานรากนั้นสามารถที่จะถ่ายแรงดึงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งก็จะเป็นไปตามเนื้อหาที่ผมได้ทำการอธิบายเอาไว้ข้างต้นแล้วนะครับ

 

ดังนั้นหากว่าเงื่อนไขคือ ดินในโครงการก่อสร้างของเรานั้นมีความวิกฤติว่าจะมีโอกาสเกิดแรงฉุดดึงลง การกำหนดรายละเอียดของจุดต่อระหว่างโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็ม “ขั้นพื้นฐาน” ที่ควรจะทำก็คือ ข้อ (C) นั่นก็คือ ทำการเลือกวางให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นอมเข้าไปในตัวโครงสร้างฐานรากและจะต้องใส่เหล็กเดือยด้วยนั่นเองนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอาทิตย์

#ถามตอบชวนสนุก

#ตอบปัญหาเรื่องรายละเอียดของจุดต่อระหว่างโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มเพื่อป้องกันกรณีของแรงฉุดดึงลงในดิน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com