เสถียรภาพของโครงสร้างของหลังคา

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ


สืบเนื่องจากเมื่อในสองถึงสามช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้ทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเสถียรภาพของโครงสร้างของหลังคาที่ทำหน้าที่ในการป้องกันลมฝนซึ่งจะอยู่ในบริเวณส่วนด้านหลังของอาคารให้แก่เพื่อนๆ ไปว่า ถึงแม้ส่วนของโครงสร้างอาคารพวกนี้จะเป็นเพียงส่วนโครงสร้างรองไมได้เป็นส่วนของโครงสร้างหลักของอาคารก็ตามแต่หากเราใช้ระบบโครงสร้างที่ขาดซึ่งเสถียรภาพที่ดีเพียงพอหรือมีความไม่เหมาะสมใดๆ ก็แล้วแต่ นั่นอาจจะเป็นต้นเหตุของปัญหาจุกจิกต่างๆ ของการใช้งานของโครงสร้างมากมายเลยก็ได้ เช่น อาจจะเกิดการทรุดตัวของโครงสร้างจนทำให้เกิดการดึงรั้งกันของโครงสร้างทั้งสองส่วนและอาจจะส่งผลทำให้เกิดน้ำรั่วซึมลงมา โดยเริ่มจากปริมาณน้ำน้อยๆ จนกลายเป็นน้ำปริมาณมากขึ้นๆ จนในที่สุดทำให้เกิดความน่ารำคาญใจขึ้น เป็นต้น ประกอบกับเท่าที่ผมสังเกตดูจากคอมเม้นต์ก็จะพบว่ามีเพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนได้เข้ามาสอบถามใต้โพสต์ในทำนองว่า อยากให้ผมให้คำแนะนำหน่อยว่า จริงๆ แล้วระบบโครงสร้างที่ดี ที่ควรใช้จริงๆ แล้วควรเป็นเช่นใดกันแน่ ผมจึงมีความคิดว่า เอาละ เอาเป็นว่าผมจะขออาศัยพื้นที่ในโพสต์ของวันอังคารแบบนี้มายกตัวอย่างให้แก่เพื่อนๆ ได้มาทำความรู้จักกับระบบโครงสร้างหลังคาแบบนี้ให้ก็แล้วกันนะครับ

เริ่มกันในวันนี้ผมจะขออนุญาตยกตัวอย่างที่จะมีรูปแบบที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันกับกรณีที่ผมเคยนำเอามาใช้เป็นตัวอย่างให้เพื่อนๆ ได้ดูไปก่อนหน้านี้ซึ่งก็คือ กรณีที่มีการตั้งเสาขึ้นมาจากพื้น ซึ่งวิธีการที่ใช้สำหรับกรณีแบบนี้ก็จะเหมือนกันกับที่ผมเคยได้ให้แนวทางกับเพื่อนๆ เอาไว้ก่อนหน้านี้นั่นก็คือ การก่อสร้างต่อเติมโครงสร้างนั้นหากเราไม่ทราบจริงๆ ว่าโครงสร้างเดิมของอาคารนั้นมีรายละเอียดเป็นเช่นใด มีระดับของความแข็งแรงมากหรือน้อยเพียงใด เราจะต้องไม่นำเอาโครงสร้างใหม่ไปฝากไว้กับโครงสร้างเดิมโดยเด็ดขาดเพราะมีความเสี่ยงมากเกินไปที่เราจะคาดหวังว่าโครงสร้างเหล่านั้นจะมีความแข็งแรงมากเพียงพอน่ะครับ

หากเพื่อนๆ ดูจากในรูปตัวอย่างในวันนี้ก็จะเห็นได้ว่าส่วนของหลังคานั้นจะถูกก่อสร้างขึ้นโดยการตั้งอยู่บนโครงสร้างเสาและคานเหล็กรูปพรรณ แต่ หากสังเกตดูให้ดีๆ ก็จะเห็นด้วยว่า โครงสร้างส่วนต่อเติมซึ่งก็คือโครงสร้างส่วนใหม่นั้นจะไมได้ถูกเชื่อมต่อเข้ากับโครงสร้างส่วนเดิมซึ่งก็คือโครงสร้างส่วนเก่า ดังนั้นโครงสร้างส่วนใหม่เพียงแต่จะไปแปะซ้อนอยู่ข้างใต้โครงสร้างส่วนเดิมเท่านั้น ดังนั้นหากเกิดการทรุดตัวของโครงสร้างส่วนใหม่ก็จะไม่ทำให้เกิดการดึงรั้งกันของโครงสร้างทั้งสองส่วน ซึ่งหากค่าการทรุดตัวนั้นมากขึ้นจนเกิดน้ำรั่วซึมลงมา เราก็เพียงแค่ทำการซ่อมส่วนที่เกิดการอ้าออกนี้และปิดด้วยวัสดุปิดรอยต่อของหลังคาหรือว่า FLASHING เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยแล้วเพราะตราบใดที่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวโครงสร้าง โดยมากแล้วก็จะไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานใดๆ ตามมาน่ะครับ

สำหรับตัวอย่างของกรณีของโครงสร้างที่ผมได้นำเอามาแนะนำเพื่อนๆ ในวันนี้มีเพียงอย่างเดียวที่ผมอยากที่จะเน้นย้ำนั่นก็คือ จุดต่อ ณ จุดรองรับของโครงสร้างเสาสำหรับกรณีแบบนี้จะต้องมีความมั่นคงและแข็งแรงมากเพียงพอ อันเนื่องมาจากการก่อสร้างแบบนี้เป็นการก่อสร้างต่อเติมโดยอาศัยเสาเพียงแค่หนึ่งต้นในหนึ่งระนาบของการรับแรง ดังนั้นนอกจากการที่เสาต้นนี้จะต้องรับแรงกระทำในแนวดิ่งและในแนวราบแล้ว เพื่อให้เกิดเสถียรภาพที่ดีเพียงพอต่อตัวระบบของโครงสร้าง เสาต้นนี้ยังจะต้องมีความจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการรับแรงดัดได้ดีอีกด้วย ก็เสมือนกับคนปกติอย่างเราๆ ที่มักจะยืนอยู่บนขาทั้งสองข้าง ซึ่งขาทั้งสองข้างนี้ก็จะช่วยกันรับภาระน้ำหนักตัวของเราได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ เลย นั่นเป็นเพราะขาทั้งสองของเพื่อนๆ นั้นจะช่วยทำหน้าที่รับแรงดัดเพียงแค่แกนเดียวแต่หากเพื่อนๆ ลองเปลี่ยนมายืนอยู่บนขาเพียงข้างเดียวดูบ้าง เพื่อนๆ ก็จะพบว่าขาของเพื่อนๆ นั้นแทบที่จะทรงตัวไม่อยู่เลยทีเดียว นั่นเป็นเพราะขาของเพื่อนๆ นั้นจะต้องทำหน้าที่รับแรงดัดมากถึงสองแกนนั่นเองนะครับ

สำหรับในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมจะขออนุญาตนำเอาตัวอย่างอีกสักหนึ่งตัวอย่างมาทำการอธิบาย โดยที่จะเป็นตัวอย่างสำหรับกรณีของการก่อสร้างต่อเติมโครงสร้างที่เราทราบว่า โครงสร้างเดิมของอาคารนั้นมีรายละเอียดเป็นเช่นใดและมีระดับของความแข็งแรงมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งเราจะสามารถนำเอาโครงสร้างใหม่ไปฝากไว้กับโครงสร้างเดิมได้ ดังนั้นหากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้มากเป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้ในการโพสต์ครั้งหน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#เสถียรภาพของโครงสร้างของหลังคา
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com