การรับแรงกระทำตามแนวแกนร่วมกันกับแรงดัดในโครงสร้างเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

ตามที่ผมได้แจ้งไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ในวันนี้ผมจะมาทำการอธิบายและลงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง วิธีในการคำนวณหาค่า NORMAL FORCE STIFFNESS หรือ AXIAL STIFFNESS หรือ ซึ่งเราอาจจะแทนค่าๆ นี้ด้วยค่า Ka และ BENDING FORCE STIFFNESS หรือ ROTATIONAL STIFFNESS ซึ่งเราอาจจะแทนค่าๆ นี้ด้วยค่า Kr ของเสาเข็มเพิ่มเติมกันอีกสักโพสต์หนึ่งก็แล้วกัน ซึ่งผมต้องทำการอธิบายให้ง่ายๆ และชัดเจนแก่เพื่อนๆ ทุกคนก่อนว่า วิธีการที่ผมจะอธิบายให้ทราบในวันนี้ เป็นเพียงวิธีการคำนวณ “โดยประมาณ” เท่านั้น โดยเริ่มต้นผมอยากที่จะให้เพื่อนๆ ดูรูปประกอบก่อนก็แล้วกันนะครับ

จากรูป (A) คือ รูปแบบจริงๆ ของการเสียรูปและการดัดตัวของโครงสร้างเสาเข็มเมื่อมีการฝังตัวอยู่ใต้ดิน ส่วนรูป (B) คือ รูปแบบของวิธีในการที่ผมจะมาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้ใช้เพื่อทำความเข้าใจกัน ซึ่งก็จะเป็นไปตามที่ผมได้อธิบายไปข้างว่า วิธีการนี้เป็นเพียงวิธีการคำนวณ “โดยประมาณ” เท่านั้นนะครับ

 

หากเพื่อนๆ ดูรูป (A) ก็จะพบว่า เมื่อโครงสร้างเสาเข็มเมื่อมีการฝังตัวอยู่ใต้ดินจะมีทั้งดินที่อยู่รอบๆ และดินที่อยู่ข้างใต้ตัวโครงสร้างเสาเข็มคอยทำหน้าที่เป็น ค่าความแข็งเกร็ง หรือ STIFFNESS ของโครงสร้างเสาเข็ม ทั้งในรูปแบบของ ค่าความแข็งเกร็งตามแนวแกน และ ค่าความแข็งเกร็งต่อการดัด อยู่ ซึ่งพอมาทำการพิจารณารูป (B) บ้างก็จะพบว่า โครงสร้างเสาเข็มจะสามารถมีการดัดตัวหรือเสียรูปเนื่องจากการดัดได้มากกว่าเพราะว่าไม่มี ค่าความแข็งเกร็งต่อการดัดเหมือนกันกับในรูป (A) เลยนะครับ

 

เพื่อนๆ พอนึกภาพออกใช่หรือไม่ครับว่าวิธีการๆ นี้มีข้อจำกัดอย่างไร ?

 

ถูกต้องแล้วครับ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่เราทำการคำนวณโดยที่ไม่ทราบหรือไม่อาศัยข้อมูลคุณสมบัติความแข็งแรงจากดินเลย ซึ่งแน่นอนว่าการคำนวณตามวิธีการต่อไปนี้สามารถที่จะใช้ได้แค่สำหรับการคำนวณและออกแบบ “เฉพาะตัวโครงสร้างเสาเข็ม” ในเบื้องต้นได้เพียงเท่านั้น โดยหากเพื่อนๆ มีความต้องการที่จะทำการคำนวณตัวโครงสร้างของเสาเข็มให้เหมือนกันกับในรูป (A) เลย เพื่อนๆ จำเป็นที่จะต้องทราบคุณสมบัติความแข็งแรงจากตัวดินด้วยเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อที่จะได้นำเอาข้อมูลดังกล่าวมาทำการคำนวณหา ค่าความแข็งเกร็งตามแนวแกน และ ค่าความแข็งเกร็งต่อการดัด ของดินที่มีต่อโครงสร้างเสาเข็มนั่นเองครับ

 

ผมคาดหวังว่าการที่ผมได้ทำการอธิบายให้เพื่อนๆ ฟังแบบนี้ เพื่อนๆ น่าที่จะพอทำความเข้าใจถึงข้อจำกัดและขอบเขตของการนำเอาวิธีการคำนวณนี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เอาเป็นว่าผมจะขอพักการอธิบายถึงรูป (A) เอาไว้เพียงเท่านี้ก่อน โดยที่จะทำการอธิบายต่อถึงวิธีการคำนวณตามรูป (B) ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบก็แล้วกันนะครับ

 

ก่อนอื่นเพื่อนๆ จะต้องมีความมั่นใจในระดับหนึ่งก่อนว่า “ดิน” ที่เพื่อนๆ จะทำการฝังเสาเข็มลงไปนั้น จะต้องมีความความแข็งแรงเพียงพอที่จะทำให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพที่ดีเพียงพอ ต่อมาก็คือ เพื่อนๆ ก็จะต้องทราบอยู่แล้วใช่หรือไม่ว่า เสาเข็มของเพื่อนๆ จะมี ค่าความยาวของเสาเข็ม หรือ Lp เท่ากับเท่าใด ?

 

ดังนั้นเพื่อนๆ ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า เสาเข็มของเราจะมีส่วนที่มีชื่อเรียกว่า “ความยาวของโครงสร้างเสาเข็มส่วนที่ถูกกึ่งยึดรั้ง” หรือ “PARTIAL FIXITY DEPTH OF PILE” หรือค่า L(PFD) ว่ามีค่าเท่ากับเท่าใดก่อน ซึ่งค่าๆ นี้ก็จะสามารถทำการคำนวณได้ง่ายๆ โดยมีค่าเท่ากับ ร้อยละ 34 ของความยาวทั้งหมดของเสาเข็ม ดังนั้นเราอาจจะสามารถเขียนได้ว่า

 

L(PFD) = 0.34 x Lp

 

จากนั้นเราจะนำเอาค่า Lp มาลบกับค่า L(PFD) ซึ่งก็จะได้ “ความยาวของโครงสร้างเสาเข็มส่วนที่ไม่ถูกยึดรั้ง” โดยเราอาจจะให้ค่าๆ นี้แทนด้วยค่า Lp’ ดังนั้น

 

Lp’ = Lp – L(PFD)

 

ในที่สุดเราก็จะสามารถแทนค่า Lp’ เพื่อที่จะทำการคำนวณหาค่า Kr1 ได้จากสมการดังต่อไปนี้

 

Kr1 = 3 E I / Lp’

 

ต่อมาเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่า Kr2 ได้จากสมการดังต่อไปนี้

 

Kr2 = 4 E I / Lp

 

ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ นำเอาทั้งสองค่าข้างต้นทั้งค่า Kr1 และ Kr2 มาทำการเปรียบเทียบกันและเลือกใช้ค่า Kr จากค่าที่ “ต่ำที่สุด” จากทั้งสองค่านี้ ดังนั้นเราอาจจะสามารถเขียนได้ว่า

 

Kr = MIN. ( Kr1 , Kr2 )

 

ซึ่งแน่นอนว่าเราจะสามารถทำการคำนวณได้ว่าค่า Ka ได้จากสมการดังต่อไปนี้

 

Ka = A E / Lp

 

ผมอยากให้เพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ ตรงนี้นิดนึงนะครับว่า ค่าระยะของความยาวของเสาเข็มที่ใช้แทนลงในสมการในการคำนวณหาค่า Kr1 ค่า Kr2 และค่า Ka นั้นจะใช้ระยะความยาวของเสาเข็มในการคำนวณที่ไม่เท่ากัน นั่นก็คือค่า Kr1 จะใช้ระยะเป็นค่า Lp’ และค่า Kr2 และ Ka จะใช้ระยะเป็นค่า Lp ตามลำดับนะครับ

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมจะมาทำการอธิบายและลงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง ที่มาที่ไปของวิธีในการคำนวณหาค่า Kr1 ค่า Kr2 และค่า Ka โดยการประมาณการค่าตามเนื้อหาที่ผมได้อธิบายไปแล้วในโพสต์ๆ นี้เพิ่มเติมกันอีกสักโพสต์หนึ่งก็แล้วกัน เพื่อนๆ จะได้พอทราบที่มาที่ไปของการคำนวณและจะได้มีความเข้าใจในเรื่องของขอบเขตของการนำไปใช้ได้ดียิ่งขึ้นด้วย หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ตอบปัญหาเรื่องการรับแรงกระทำตามแนวแกนร่วมกันกับแรงดัดในโครงสร้างเสาเข็ม

#ตอนที่4

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com