สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ
เนื่องจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานั้นผมได้โพสต์และอธิบายถึงเรื่องวิธีในการคำนวณหา ค่าสัมประสิทธิ์โมเมนต์ดัด หรือ BENDING MOMENT COEFFICIENT ให้แก่เพื่อนๆ ไปแล้ว ปรากฏว่าผมได้รับคำถามต่อเนื่องมาจากเพื่อนๆ ของผมหลายๆ คนเกี่ยวกับค่าๆ นี้ ดังนั้นในวันนี้ผมจึงจะขออนุญาตมาทำการอธิบายเพิ่มเติมถึงค่าๆ นีกันอีกสักหน่อยก็แล้วกันนะครับ
โดยมากแล้ว ค่าสัมประสิทธิ์โมเมนต์ดัด หรือค่า Cb นั้นจะถูกนำมาใช้ในกรณีที่เราจะต้องทำการคำนวณหา ค่ากำลังรับแรงดัด ในชิ้นส่วนหน้าตัดโครงสร้างเหล็กนะครับ โดยหากเพื่อนๆ ที่เคยเรียนวิชา การออกแบบโครงสร้างเหล็ก จะทราบกันดีว่า ในการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กรับแรงดัดนั้นจะมีขั้นตอนสำคัญอยู่หลายขั้นตอนด้วยกัน และ หนึ่งในขั้นตอนเหล่านั้นก็คือ การคำนวณเพื่อตรวจสอบดูว่าระยะค้ำยันทางด้านข้าง (LATETAL BRACING) ในโครงสร้างรับแรงดัดของเรานั้นมีสถานะเป็นเช่นไร เพราะ ระยะค้ำยันทางด้านข้างนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อเสถียรภาพของโครงสร้างรับแรงดัด ซึ่งในที่สุดสถานะๆ นี้จะเป็นตัวชี้วัดทีถือได้ว่า่มีความสำคัญมากๆ ที่จะสามารถบอกให้เราทราบได้ว่า โครงสร้างรับแรงดัดของเรานั้นจะมีความสามารถในการต้านทานแรงดัดสูงสุดอยู่ในช่วงสภาวะการวิบัติรูปแบบใดนั่นเองครับ
โดยหากเราให้ค่า Lb นั้นเป็น ระยะจริงๆ ของการค้ำยันทางด้านของโครงสร้างรับแรงดัด เราจะสามารถทำการจำแนกสภาวะของระยะค้ำยันทางด้านข้างของโครงสร้างรับแรงดัดออกได้เป็น 3 กรณีด้วยกัน ได้แก่
- ค่า Lb =< Lp
หากเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่า ระยะการค้ำยันทางด้านข้างของโครงสร้างรับแรงดัดนั้นมีความเพียงพอ โดยที่โครงสร้างรับแรงดัดของเราจะเกิดรูปแบบการวิบัติอันเนื่องจากการครากตลอดหน้าตัด
- ค่า Lp < Lb =< Lr
หากเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่า ระยะการค้ำยันทางด้านข้างของโครงสร้างรับแรงดัดนั้นไม่เพียงพอ โดยที่โครงสร้างรับแรงดัดของเราจะเกิดรูปแบบของการวิบัติอยู่ในช่วงที่โครงสร้างนั้นไม่เป็นเชิงเส้นอันเนื่องมาจาก LATERAL-TORSIONAL BUCKLING
- ค่า Lr < Lb
หากเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่า ระยะการค้ำยันทางด้านข้างของโครงสร้างรับแรงดัดนั้นไม่เพียงพอ โดยที่โครงสร้างรับแรงดัดของเราจะเกิดรูปแบบของการวิบัติอยู่ในช่วงที่โครงสร้างนั้นเป็นเชิงเส้นอันเนื่องมาจาก LATERAL-TORSIONAL BUCKLING
โดยที่ค่า Cb นั้นจะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อกรณีที่ การค้ำยันทางด้านข้าง ของโครงสร้างรับแรงดัดเรานั้นอยู่ในกรณีที่ 2 และ 3 ทั้งนี้เมื่อเราทำการคำนวณค่า Cb ได้แล้ว เราจะนำมา คูณ เข้ากับค่ากำลังความสามารถในการรับโมเมนต์ดัดของหน้าตัด ดังนั้นยิ่งโครงสร้างรับแรงดัดของเรานั้นสถานะของการค้ำยันที่ดีมากเท่าใด ก็จะทำให้ค่า Cb นั้นมีค่าสูงมากเท่านั้น
สำหรับกรณีที่การคำนวณของเรานั้นไม่มีการคำนวณหาค่า Cb โดยละเอียด เราอาจจะสามารถแทนค่า Cb ให้มีค่าเท่ากับ 1.00 ก็ได้นะครับ แต่ นั่นก็อาจจะทำให้โครงสร้างรับแรงดัดที่เราทำการออกแบบนั้นมีขนาดของหน้าตัดที่ใหญ่กว่าที่เราต้องการจริงๆ ได้นะครับ
ในตอนท้ายผมอยากจะให้เงื่อนไขของการใช้ค่า Cb ไว้อีกเล้กน้อย นั่นก็คือ ในกรณีที่โครงสร้างรับแรงดัดของเรานั้นเป็นแบบยื่น (CANTILEVER) หรือ เมื่อค่าโมเมนต์ดัดที่อยู่ในช่วงที่ไม่มีการค้ำยันนั้นมีค่า มากกว่า หรือ เท่ากับ ค่ามาก ของโมเมนต์ดัดตรงจุดที่ทำการค้ำยัน หากเป็นเช่น 2 กรณีที่ผมเอ่ยถึง เราจะใช้ค่า Cb เท่ากับ 1.00 เสมอนะครับ
ยังไงไว้ในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง การออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กรับแรงดัด ให่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันบ้าง หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในบทความเรื่องก็สามารถที่จะรอติดตามอ่านกันได้ครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com