เหตุใดจึงเลือกใช้ “หิน” เป็นวัสดุที่โรยเอาไว้เพื่อรองใต้ทางรถไฟกัน เราจะใช้วัสดุอื่นๆ ทดแทน ได้ หรือ ไม่ อย่างไร ?

เหตุใดจึงเลือกใช้ “หิน” เป็นวัสดุที่โรยเอาไว้เพื่อรองใต้ทางรถไฟกัน เราจะใช้วัสดุอื่นๆ ทดแทน ได้ หรือ ไม่ อย่างไร ?

micropile spun micropile spunmicropile เสาเข็มไมโครไพล์ micropile spun micropile spunmicropile เสาเข็มไมโครไพล์

หินชนิดนี้มีชื่อว่า “หินโรยทาง” หรือ ที่ในภาษาอังกฤษเราจะมีชื่อเรียกว่า BALLAST STONE นั่นเองนะครับ

หินชนิดนี้จะทำหน้าที่ยึดไม้หมอนที่คอยรองรับรางรถไฟซึ่งจะทำจากวัสดุที่เป็นเหล็กให้อยู่ในสภาพคงที่โดยให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่ง (DISPLACEMENT) ที่น้อยที่สุด สาเหตุเป็นเพราะว่ารถไฟถือว่าเป็นยานพาหนะที่มีความเร็วและมวลมหาศาลมากอย่างหนึ่งในบรรดายานพาหนะที่เรารู้จักกันดี ดังนั้นเมื่อตัวรถไฟต้องเคลื่อนที่ผ่านไปบนรางรถไฟ จะทำให้เกิดพลังงาน (ENERGY) มหาศาลขึ้นบนรางรถไฟ ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เกิดผลตอบสนอง (RESPONSE) มากมายรวมไปถึงค่าการสั่นสะเทือน (VIBRATION) ที่สูงมากๆ ทำให้วิศวกรผู้ออกแบบจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสภาวะผลตอบสนองทางพลศาสตร์ (DYNAMICS RESPONSE) ของรถไฟที่จะเกิดขึ้นกับรางรถไฟและฐานรองรับรางรถไฟนี้ด้วย

จากนั้นเจ้าหินโรยทางนี้ก็จะทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นฐานรากแบบยืดหยุ่นตัวได้ (FLEXIBLE FOUNDATION) คอยทำการกระจาย นน จากทางด้านบนให้กระจายตัวลงไปสู่ดินคันทางที่อยู่ข้างล่างนะครับ

คราวนี้ถ้าเราย้อนกลับมาดูหน้าที่หลักของเจ้าหินโรยทางนี้อีกครั้งหนึ่ง คือ ยึดให้รางเหล็กอยู่ในสภาพคงที่โดยให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งที่น้อยที่สุด หน้าที่นี้จะเป็นหน้าที่ๆ ถือว่ามีความสำคัญมากๆ ต่อปัจจัยในการเลือกใช้งานวัสดุนะครับ เพราะ ผลตอบสนองหนึ่งเมื่อรถไฟวิ่งผ่านไปบนราง คือ รางจะสามารถเกิดการขยายตัวออกไปได้เนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น (THERMAL EXPANSION) พื้นดินที่รองรับอยุ่ข้างใต้จะเกิดการเคลื่อนตัว (SETTLEMENT) เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนมหาศาลที่เกิดขึ้นเมื่อรถไฟต้องวิ่งผ่าน ซึ่งอาจจะต้องรวมผลอื่นๆ ที่อาจจะมีผลกระทบกับตัวโครงสร้างของเราเข้าไปด้วย เช่น สภาพอากาศแวดล้อมที่ค่อนข้างจะมีความแปรปรวน สภาพของดินฟ้าอากาศที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เป็นต้น

จากข้อมูลของเพจ การจัดการองค์ความรู้ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ให้คำอธิบายเอาไว้ว่า ในปัจจุบันทางรถไฟในประเทสของเราจะใช้ทั้ง หินโรยทาง (BALLAST TRACK) และ ไม่ใช่หินโรยทาง (NON-BALLAST TRACK) ซึ่งแต่ละแบบจะมีคุณลักษณะพิเศษที่มีความแตกต่างกันออกไปนะครับ

เรามาเริ่มต้นดูกรณีที่เราเลือกใช้วัสดุนี้เป็นหินโรยทางกันก่อนนะครับ โดยเพื่อนๆ สามารถจะดูรูปประกอบที่ 1 ซึ่งแนบมาในโพสต์ๆ นี้ได้นะครับ

สำหรับข้อดีของการเลือกใช้ หินโรยทาง คือ เป็นวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ แทบที่จะไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิตใดๆ ก็สามารถที่จะนำมาใช้งานได้ แถมยังไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียงอีกด้วย หรือ พูดง่ายๆ คือ เสียงที่เกิดจะมีความนุ่มนวล ก่อให้เกิดความน่ารำคาญใจที่น้อยนั่นเองนะครับ ส่วนข้อเสียของการใช้ หินโรยทาง คือ เมื่อใช้งานไปสักพักหนึ่งเราจำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการบำรุงรักษาบ้าง โดยต้องทำการล้างหิน จัดเรียงหิน และ อัดหินเพิ่มเติม นะครับ

กรณีที่เราเลือกใช้วัสดุที่ไม่ใช่หินโรยทางกันบ้างนะครับ โดยเพื่อนๆ สามารถจะดูรูปประกอบที่ 2 ซึ่งแนบมาในโพสต์ๆ นี้ได้นะครับ

สำหรับทางรถไฟที่ไม่ใช่หินโรยทาง คือ การวางรางรถไฟไปบนวัสดุใดๆ ก็ได้ที่ไม่ใช่หิน ซึ่งในปัจจุบันเราอาจเลือกใช้งาน แผ่น คอร หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า SLAB TRACK หรือ อาจจะเลือกทำการวางรางลงบนหมอนคอนกรีตที่วางตัวอยู่บนพื้นคอนกรีตที่มีช่องบังคับ ก็ได้นะครับ

ซึ่งแน่นอนว่าข้อดีของการเลือกวัสดุรองรับที่ไม่ใช่หินโรยทาง คือ จะเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการดูแลรักษาที่น้อยกว่าวัสดุที่เป็นหินโรยทาง แต่แน่นอนข้อเสีย คือ จะมีต้นทุนที่สูงกว่านั่นเองครับ

ปล ต้องขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ การจัดการองค์ความรู้ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย และ รูปภาพจากอินเตอร์เน็ตด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1585437088169077

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์