การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) นะครับ

ไมโครไพล์ เข็มไมโครไพล์

โดยที่ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาไขข้อข้องใจให้แก่เพื่อนๆ ถึงประเด็นที่ว่า เพราะเหตุใดในขั้นตอนของการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของทางภูมิสยามนั้นจึงต้องอาศัยเวลาในการทำงานการตอกเสาเข็มที่ค่อนข้างจะนานกว่าเสาเข็มตอกชนิดอื่นๆ เช่น ในวันหนึ่งๆ หากเป็นเสาเข็มต้นอื่นๆ อาจจะสามารถตอกเสาเข็มได้ 4 ต้น ถึง 6 ต้น ต่อปั้นจั่น 1 ตัว แต่ หากเป็นเสาเข็มสปันไมโครไพล์อาจจะสามารถทำการตอกเสาเข็มได้แค่ประมาณ 2 ต้น ถึง 3 ต้น ต่อปั้นจั่น 1 ตัว เป็นต้นนะครับ

 

ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตเรียนให้ทราบก่อนนะครับว่า สำหรับกรณีที่เป็นการตอกเสาเข็มด้วยระบบตุ้มกระแทกทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่ ไมโครไพล์ นั้นขนาดของตัวตุ้มกระแทกที่ควรใช้ควรจะมี น้ำหนัก จะอยู่ที่ประมาณ 0.70 เท่า ถึง 2.50 เท่า ของ น้ำหนัก ของตัวเสาเข็มที่เราจะทำการตอก ผมขออนุญาตยก ตย ก็แล้วกันนะครับ

 

หากเราจะทำการตอกเสาเข็มขนาดสี่เหลี่ยมตันขนาด สผก เท่ากับ 22 CM ขนาดความยาวเท่ากับ 21 M ซึ่งจะทำให้เสาเข็มนั้นมี น้ำหนัก เท่ากับ

Wp = 0.22×0.22x21x2,400 = 2,440 KGF

ดังนั้น น้ำหนัก ของตัวตุ้มที่น้อยที่สุดที่ควรใช้จะมีค่าเท่ากับ

Wr = 0.70×2,440 = 1,708 KGF

ในขณะที่ค่า น้ำหนัก ของตัวตุ้มกระแทกที่ทางภูมิสยามไมโครไพล์ใช้ในการตอกเสาเข็มนั้นจะมี น้ำหนัก เพียง 1,400 KGF เท่านั้นเองนะครับ !!!

 

ผมเล่ามาถึงตรงนี้ผมตคาดหมายว่าเพื่อนหลายๆ คนน่าที่จะถึงบางอ้อกันแล้วนะครับ ใช่ครับ เป็นเพราะว่า น้ำหนัก ของตัวตุ้มกระแทกที่ใช้ในการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของทางภูมิสยามนั้นมีค่าที่น้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำนั่นเอง

 

ดังนั้นในขั้นตอนกระบวนการของการตอกเสาเข็มนั้นเป็นการที่เราทำการให้พลังงาน (ENERGY) ที่เกิดจากการปล่อยตัวตุ้มกระแทกใส่ลงไปยังตัวเสาเข็ม ในเมื่อเราใช้ขนาดของตุ้มที่มีค่า น้ำหนัก น้อยกว่าเกณฑ์ทั่วๆ ไปมากเท่าใด กว่าที่ตัวเสาเข็มของเรานั้นจะสามารถทำการสะสมพลังงานจากการตอกให้ถึงระดับที่ต้องการได้ก็ย่อมที่จะต้องใช้เวลาในการตอกเสาเข็มที่เนิ่นนานมากยิ่งขึ้นเป็นเรื่องธรรมดานะครับ

 

ส่วนสาเหตุที่เหตุใดถึงต้องใช้ลูกตุ้มที่มีขนาดเล็กกว่าเกณฑ์ทั่วๆ ไป เป็นเพราะว่าทางภูมิสยามนั้นค่อนข้างที่จะมีความใส่ใจและสนใจในเรื่องของระดับมลภาวะ (POLUTION LEVEL) ทางด้านแรงสั่นสะเทือน (VIBRATION) ที่จะเกิดจากการตอกเสาเข็มในงานของทางคุณลูกค้าค่อนข้างที่จะมาก กล่าวคือ ทางภูมิสยามนั้นไม่ต้องการที่จะให้ขั้นตอนในการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของทางภูมิสยามนั้นไปสร้างผลกระทบใดๆ ต่อตัวโครงสร้างอาคารที่มีอยู่ข้างเคียงรอบๆ บริเวณที่คุณลูกค้านั้นต้องการที่จะทำการตอกเสาเข็มนั่นเองครับ

 

ดังจะเห็นได้จากคลิปหลายๆ คลิปในเพจที่เราทำการสาธิตการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ให้อยู่ในระยะประชิดริมฝาผนังที่มีหน้าต่างเป็นบานกระจก แต่ ฝาผนังที่มีหน้าต่างเป็นบานกระจกนั้นก็ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ จากการตอกเสาเข็มเลยนะครับ

ดังนั้นหากเพื่อนๆ กำลังมองหาหรือมีความสนใจที่จะใช้เสาเข็มที่มีลักษณะที่มีมลภาวะทางด้านแรงสั่นสะเทือนที่มีค่าน้อยมากๆ แบบนี้อยู่ ผมก็อยากที่จะฝากให้เพื่อนๆ นั้นได้นึกถึงสินค้าของทางภูมิสยามและสามารถที่จะยกหูโทรศัพท์เข้ามาคุยกับเราได้เลยนะครับ เพราะ เรามีทีมวิศวกร และ ช่างเทคนิคที่จะคอยให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำการให้บริการงานการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ให้แก่ท่านด้วยความเต็มใจเสมอ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN