หลักการหนึ่งในการวางเสาเข็มเจาะ (การวาง DOWEL BAR)
วันนี้แอดมินตั้งใจจะมาเล่าถึงหลักการหนึ่งในการวางเสาเข็มเจาะมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่าน
หลักการที่ว่านั่นก็คือ การวาง DOWEL BAR ที่บริเวณหัวของเสาเข็ม นั่นเองครับ ก่อนจะลงลึกในรายละเอียดต้องถามเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านก่อนว่า DOWEL BAR คืออะไร ?
DOWEL BAR หรือ เหล็กเดือย ที่มีความยาวโผล่พ้นขึ้นมาจากระดับยอดบนสุดของเสาเข็ม ซึ่งเหล็กตัวนี้จะอมอยู่ส่วนโครงสร้างฐานราก โดยที่จะเป็นเหล็กเสริมที่เสริมอยู่ในเสาเข็มอยู่แล้ว หรือ จะเป็นเหล็กที่ได้รับการเจาะเสียบเพิ่มเติมจากการคำนวณของวิศวกรผู้ออกแบบก็แล้วแต่ ทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้ เราเรียกเหล็กเสริมตัวนี้ว่า DOWEL BAR ครับ
เมื่อวิศวกรผู้ออกแบบทําการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างในอาคารหนึ่งๆ หากวิเคราะห์โครงสร้างแล้วพบว่าโครงสร้างมีโอกาสความน่าจะเป็นที่ฐานรากอาจเกิดแรงยกตัวขึ้น (UP LIFT FORCE) ในโครงสร้างนั้นๆ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง เสาเข็มและแรงเสียดทานในดินซึ่งปกติจะรับแรงกดลง จะต้องเปลี่ยนมาเป็นรับแรงถอน (NEGATIVE SKIN FRICTION) ในทันที เมื่อเกิดแรงดึงขึ้นในเสาเข็ม เราจึงต้องการเหล็กเสริม DOWEL BAR ตัวนี้เองมาทำหน้าที่ถ่ายแรงดึงนี้จากเสาเข็มไปยังฐานราก
ทั้งนี้เมื่อได้วิเคราะห์โครงสร้างอาคารใดๆ แล้วพบว่าอาคารมีค่าความน่าจะเป็นในระดับที่ต่ำมากๆ ที่จะเกิดสภาวะแรงยกดังกล่าวขึ้นได้ ดังนั้นทางผู้ออกแบบจึงอาจทําการพิจารณาใส่ปริมาณเหล็กเดือยในปริมาณเหล็กเสริมที่น้อยที่สุดที่หน้าตัดเสาเข็มต้องการก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเผื่อเอาไว้สำหรับกรณีสุดวิสัยจริงๆ ที่โครงสร้างเกิดแรงถอนนี้ขึ้น โครงสร้างจะได้มีความปลอดภัย สามารถที่จะถ่ายแรงดึงนี้ไปได้นั่นเอง
โดยวิธีในการคํานวณเหล็กเดือยที่แอดมินจะมานำเสนอแก่เพื่อนๆ ในวันนี้ก็ คือ วิธีการที่ผู้ออกแบบไม่ได้คิดแรงถอนตัวนี้โดยวิธีการละเอียด แต่ ต้องการเผื่อค่าให้มีจำนวนเหล็กเดือยเอาไว้อย่างเพียงพอ ดังนั้นในหลักการวิธีคิดนี้เราจะอาศัยหลักการของแรงสมดุลครับ นั่นก็คือ แรงขึ้น เท่ากับ แรงลง โดยที่ทําการคํานวณให้ค่าแรงถอนที่มีโอกาสเกิดขึ้นนั้นมีค่าเท่ากับค่าน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยที่เสาเข็มต้นนั้นๆ จะรับได้ (ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการคำนวณด้วยวิธีการนี้จะให้ค่าที่ค่อนข้างจะ CONSERVATIVE มากๆ ในการออกแบบ) เช่น เมื่อน้ําหนักบรรทุกปลอดภัยที่เสาเข็มต้องรับเท่ากับ 30 ตัน ดังนั้นแรงถอนก็เท่ากับ 30 ตัน เช่นกัน ดังนั้นจํานวนเหล็กเดือยจึงไม่ควรน้อยกว่า
(30×1000) / (0.6×4000) = 12.5 ตร.ซม
ผู้ออกแบบจึงเลือกเสริมด้วยเหล็ก 8 DB 16 mm
(จํานวนเหล็กเสริมมีค่าเท่ากับ 8×2.01=16.08 ตร.ซม > 12.5 ตร.ซม นั่นเองครับ)
ส่วนวิธีในการฝังเหล็กเดือยก็อย่างที่เรียนไปตอนต้นนะครับว่า หากไม่ใช่เหล็กเสริมที่เสริมอยู่ในเสาเข็มอยู่แล้วตั้งแต่แรกเริ่ม ก็อาจสามารถทําได้โดยอาศัยวิธีอื่นๆ ได้เช่นกันครับ เช่น ใช้เหล็กเดือยที่อาศัยวิธีการฝังโดยการเจาะ และ เสียบประสานด้วยน้ํายาเคมี หรือ จะด้วยวิธีการอื่นๆ ที่เทียบเท่ากันก็ได้ ทั้งนี้เพื่อทําให้เกิดความประหยัดและให้ทางผู้รับจางสามารถทำงานในขั้นตอนนี้ได้โดยง่ายอีกด้วย เป็นต้นครับ
ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชนต่อตัวท่านไม่มากก็น้อย
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 081-634-6586
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449