ความรู้ทางด้าน วิศวกรรมงานดินและเสาเข็ม | ภูมิสยามฯ เสาเข็ม ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์

ความรู้ทางด้าน วิศวกรรมงานดินและเสาเข็ม | ภูมิสยามฯ เสาเข็ม ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์

วันนี้ผมจะมาร่วมกันเสวนาถึงคำถามที่ผมได้เชิญชวนให้เพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยที่คำถามที่ผมได้เลือกมานั้นจะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผมได้ทำการโพสต์ไปในสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นก็คือเรื่อง ความรู้ทางด้าน วิศวกรรมงานดินและเสาเข็ม โดยที่ใจความของคำถามในวันนี้ก็ค่อนข้างที่จะมีความง่ายดายมากๆ เลยนะครับ นั่นก็คือ

เสาเข็มไมโครไพล์ ความรู้ทางด้าน วิศวกรรมงานดินและเสาเข็ม

 

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการทบทวนความรู้ให้แก่เพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่อง วิธีในการคำนวณหา ค่าความสามารถในการรับแรงดึง และ ค่าความสามารถในการรับแรงอัด ที่ยอมให้ของเสาเข็ม วันนี้ผมมีปัญหาง่ายๆ จะมาทดสอบดูสิว่าเพื่อนๆ จะสามารถทำการแก้ปัญหาข้อนี้ได้หรือไม่ โดยที่ผมจะทำการ สมมติ ปัญหาขึ้นมาว่า ผมมีเสาเข็มสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 300 มม ซึ่งเสาเข็มต้นนี้มีความยาวเท่ากับ 21.00 ม โดยที่ตัวดินเองนั้นมีค่าหน่วยแรงฝืดที่ผิวโดยเฉลี่ยตลอดทั้งความยาวของเสาเข็มเท่ากับ 3 ตัน/ตร.ม มีค่าหน่วยแรงแบกทานที่ปลายของเสาเข็มเท่ากับ 200 ตัน/ตร.ม หากว่าในชิ้นดินนี้ไม่มีโอกาสที่จะเกิดแรงฉุด หรือ NEGATIVE SKIN FRICTION ขึ้นเลย และ ผมทำการกำหนดให้ใช้ค่าสัดส่วนความปลอดภัยในการคำนวณให้มีค่าเท่ากับ 2.50 ผมอยากที่จะเชิญชวนให้เพื่อนๆ ลองมาช่วยกันทำการคำนวณหา ค่าความสามารถในการรับแรงดึง และ ค่าความสามารถในการรับแรงอัด ที่ยอมให้ของเสาเข็มดังภาพที่แสดงนี้กันนะครับ

โดยที่ในการแก้ปัญหาข้อนี้เราควรที่จะเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่า PARAMETER ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณไปทีละค่าๆ โดยอาจจะเริ่มต้นจากค่าคุณสมบัติต่างๆ ของเสาเข็มต้นนี้ก่อน ซึ่งก็จะประกอบไปด้วย ค่าความยาวของเส้นรอบรูปของเสาเข็ม หรือ P ค่าพื้นที่หน้าตัดของเสาเข็ม หรือ Ap ค่าความยาวของเสาเข็มในมวลดิน หรือ Lp และ ค่าน้ำหนักของเสาเข็ม หรือ Wp ซึ่งทั้ง 4 ค่าข้างต้นนี้เราจะสามารถทำการคำนวณได้อย่างตรงไปตรงมาง่ายๆ เลยจาก

P = (300×4)/1000 
P = 1.20 M

Ap = (300×300)/1000^(2)
Ap =0.09 M^(2)

Lp = 21.00 M

และ

Wp = γconcrete x Ap x Lp
Wp = 2.40 x 0.09 x 21.00
Wp = 4.536 TONS

ค่าต่อมาเราจะมาทำการคำนวณหาค่า Qf กันต่อเลยก็แล้วกันนะครับ โดยที่ค่าๆ นี้ก็คือค่า ค่าแรงฝืดประลัยที่ผิวของเสาเข็ม ซึ่งปัญหาข้อนี้ได้ให้ค่า หน่วยแรงฝืดที่ผิวโดยเฉลี่ยตลอดทั้งความยาวของเสาเข็ม หรือค่า qf (ave) มาแล้วซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 3 ตัน/ตร.ม เพราะฉะนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ได้จาก

Qf = qf (ave) x P x Lp
Qf = 3 x 1.20 x21.00
Qf = 75.6 TONS

ค่าต่อมาเราจะมาทำการคำนวณหาค่า Qe กันต่อเลยก็แล้วกันนะครับ โดยที่ค่าๆ นี้ก็คือค่า ค่าแรงอัดประลัยที่ปลายของเสาเข็ม ซึ่งปัญหาข้อนี้ได้ให้ค่า หน่วยแรงแบกทานที่ปลายของเสาเข็ม หรือค่า qe มาแล้วซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 200 ตัน/ตร.ม เพราะฉะนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ได้จาก

Qe = qe x Ap 
Qe = 200 x 0.09
Qe = 18 TONS

ซึ่งจากข้อมูลอื่นๆ ทีได้ให้ไว้ในปัญหาข้อนี้เราก็จะสามารถที่จะทราบได้ว่า

NF = 0

และ

FS = 2.50

เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่า Qa และ Qt ออกมาได้แล้ว โดยเริ่มต้นจากการคำนวณหาค่า Qa หรือ ค่าความสามารถในการรับแรงอัดที่ยอมให้ของเสาเข็ม กันก่อนเลยก็แล้วกันนะครับ โดยที่ค่าๆ นี้จะมีค่าเท่ากับ

Qa = [(Qf + Qe)/FS] – NF – Wp

จากนั้นก็ทำการแทนค่าต่างๆ ที่เราได้ทำการคำนวณเอาไว้ข้างต้นลงไป ในที่สุดก็จะได้คำตอบออกมาว่าค่า Qa จะมีค่าเท่ากับ

Qa = [(75.6 + 18)/2.5] – 0 -4.536
Qa = 32.904 
Qa ≈ 32.9 TONS

ค่าต่อมาที่เราจะสามารถทำการคำนวณออกมาได้ก็คือค่า Qt หรือ ค่าความสามารถในการรับแรงดึงที่ยอมให้ของเสาเข็ม นั่นเองนะครับ โดยที่ค่าๆ นี้จะมีค่าเท่ากับ

Qt = (Qf/FS) + Wp

จากนั้นก็ทำการแทนค่าต่างๆ ที่เราได้ทำการคำนวณเอาไว้ข้างต้นลงไป ในที่สุดก็จะได้คำตอบออกมาว่าค่า Qt จะมีค่าเท่ากับ

Qt = (75.6 /2.5) + 4.536
Qt = 34.776 TONS
Qt ≈ 34.8 TONS

เรามาทำการสรุปคำตอบของปัญหาข้อนี้กันสักหน่อยก็แล้วกันนะครับว่า ค่า Qa จะมีค่าโดยประมาณแล้วเท่ากับ 32.9 TONS และ ค่า Qt จะมีค่าโดยประมาณแล้วเท่ากับ 34.8 TONS นั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับเสาเข็มไมโครไพล์ ความรู้ทางด้าน วิศวกรรมงานดินและเสาเข็ม

#การตอบคำถามทางวิชาการประจำสัปดาห์
#เฉลยปัญหาในการคำนวณหาค่าค่าความสามารถในการรับแรงดึงและค่าความสามารถในการรับแรงอัดที่ยอมให้ของเสาเข็ม

ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ตอกเสาเข็ม เสาเข็มไมโครไพล์ micropile ไมโครไพล์ spunmicropile 007ตอกเสาเข็ม เสาเข็มไมโครไพล์ micropile ไมโครไพล์ spunmicropile 008