สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างสะพาน (STRUCTURAL BRIDGE ENGINEERING DESIGN หรือ SBE) นะครับ
หลังจากที่เมื่อวันก่อนผมได้มานำเสนอบทความให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกันถึง MOVING LOAD ในวันนี้ผมจึงอยากจะขออนุญาตมาทำการยก ตย ในการคำนวณหาค่าต่างๆ เพื่อนำไปคำนวณเพื่อนำค่า MOVING LOAD นี้ไปวิเคราะห์โครงสร้างกันบ้างนะครับ
ก่อนอื่นเรามาเริ่มต้นดูจากรูปประกอบกันก่อนนะครับ โดยที่ ตย ในวันนี้ผมทำการอ้างอิง นน บรรทุกจรที่ใช้บนสะพานจากมาตรฐาน AASHTO LRFD 2012 โดยคิดประเภทของ นน บรรทุกแบบจุด (CONCENTRATED LOAD) และ นน บรรทุกแบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอ (UNIFORMLY DISTRIBUTED LOAD) ของยานพาหนะประเภท HL-93 แบบ 3 เพลานะครับ
โดยที่เพลาที่ 1 และ 2 นั้นจะมี นน บรรทุกที่ยังไม่ได้เพิ่มค่า (UNFACTORED LOAD) แบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอมีค่าเท่ากับ 9.30 kN/m ต่อ 1 ช่องจราจร กระทำเท่ากับ 145 kN และ เพลาที่ 3 เท่ากับ 35 kN ต่อ 1 ช่องจราจร ซึ่งทั้ง 3 เพลานี้จะกระทำด้วยระยะห่างที่เท่าๆ กัน คือ 4.3 M ดังนั้นหากเราจะนำ นน บรรทุกดังกล่าวไปคำนวณเพื่อทำการวิเคราะห์โครงสร้างบนสะพานเราจะต้องทำการคำนวณหาจุดศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วง (CENTER OF GRAVITY) ของเพลาชุดนี้เสียก่อนนะครับ โดยสามารถคำนวณได้ง่ายๆ จากหลักการทางด้าน STRUCTURAL MECHANICS ที่ว่า
X‘= ∑P X / ∑P
ดังนั้นระยะ X’ จากทางด้านซ้ายมือของ นน บรรทุกจะมีค่าเท่ากับ
X’ = (145×0 + 145×4.3 + 35×8.6) / (145 + 145 + 35) = 2.845 M
เป็นยังไงบ้างครับ ขั้นตอนในการคำนวณที่ผมนำมาแสดงเป็น ตย ข้างต้นนั้นสามารถที่จะคำนวณได้โดยง่ายไม่มีความสลับซับซ้อนใดๆ เลยนะครับ ซึ่งเหมือนที่ผมเคยบอกไว้นะครับว่าในการคำนวณและออกแบบงานสะพานนั้นจะมีขั้นตอนการคำนวณที่ถือได้ว่าไม่ยากเย็นนัก แต่ จะมีขั้นตอนในการคำนวณที่ค่อนข้างมีความละเอียด และ ไม่ค่อยตรงไปตรงมาเท่าใดนัก (TEDIOUS CALCULATION) เพราะ ในการออกแบบงานโครงสร้างสะพานนั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำการออกแบบโครงสร้างที่ถือว่ามีความสำคัญต่อสาธารณะชนค่อนข้างมาก และ การคำนวณและออกแบบนั้นยังต้องคำนึงถึงความสำคัญขององค์ประกอบหลายๆ อย่างในการออกแบบมากๆ อีกด้วยนะครับ
เอาเป็นว่าในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตค่อยๆ ทยอยนำ ตย ในการคำนวณการออกแบบงานสะพานมาฝากแก่เพื่อนๆ แบบสั้นๆ เป็นขั้นเป็นตอนไป ทั้งนี้เพื่อให้เพื่อนๆ สามารถที่จะเข้าใจและนึกภาพตามกันได้โดยง่ายนะครับ ยังไงเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถติดตามกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com