การรับกำลังของเสาเข็มเดี่ยวและกลุ่ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ตามที่ผมได้ทำการแจ้งกับเพื่อนๆ ไปว่าในสัปดาห์นี้ผมจะขออนุญาตมาทำการสรุปเนื้อหาที่ผมได้ทำการโพสต์ อธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างไปในตลอดหลายๆ สัปดาห์ที่ผ่านมาให้เพื่อนๆ รับทราบกันอีกสักรอบหนึ่ง ก่อนที่ในสัปดาห์ถัดๆ ไปนั้นเราจะได้ขึ้นหัวข้ออื่นๆ กันต่อไปนะครับ

 

จริงๆ แล้วหากเราจะมาทำการสรุปเนื้อหาในการออกแบบโครงสร้างฐานรากที่เป็นแบบ DEEP FOUNDATION หรือพูดง่ายๆ ก็คือโครงสร้างฐานรากที่ใช้ระบบเสาเข็มในการรับกำลังนั้น เราจะสามารถทำได้ง่ายๆ โดย

การพิจารณานั้นจะต้องทำการคำนึงถึงค่า 3 ค่า ซึ่งก็จะได้แก่ตัว “โครงสร้าง” ตัว “ฐานรากแบบเสาเข็ม” และตัว “ค่าในสภาวะใช้งานที่ยอมให้ของตัวเสาเข็มและดิน” โดยที่เราจะต้องคำนึงถึงว่า เกณฑ์ตั้งต้นของเราตามกรณีต่อไปนี้นั้นจะต้องมีค่าที่ “น้อยกว่า” หรือเท่ากับค่าเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ค่ากำลังที่เกิดขึ้นจริงในสภาวะการใช้งานจาก “โครงสร้าง” จะต้องมีค่าที่ “น้อยกว่า” หรือเท่ากับเกณฑ์ค่ากำลังใช้งานที่ “ฐานรากแบบเสาเข็ม” จะต้องรับได้

(2) ค่ากำลังที่เกิดขึ้นจริงในสภาวะการใช้งานจาก “ฐานรากแบบเสาเข็ม” จะต้องมีค่าที่ “น้อยกว่า” หรือเท่ากับเกณฑ์ “ค่ากำลังในสภาวะใช้งานที่ยอมให้ของตัวเสาเข็มและดิน”

(3) ค่าการทรุดที่เกิดขึ้นจริงในสภาวะการใช้งานจาก “ฐานรากแบบเสาเข็ม” จะต้องมีค่าที่ “น้อยกว่า” หรือเท่ากับเกณฑ์ “ค่าการทรุดตัวในสภาวะใช้งานที่ยอมให้ของตัวเสาเข็มและดิน”

 

โดยหากเราทำการออกแบบโครงสร้างและเสาเข็มของเราแล้วเกิดพบว่า ค่าใดค่าหนึ่งของเรานั้นมีค่าที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ข้างต้น นั่นก็แสดงว่า เราจะต้องทำการปรับการออกแบบของเราเสียใหม่นะครับ

งงกันหรือไม่ครับ ?

 

ไม่เป็นไรๆ ผมจะขออนุญาตนำเอาตัวอย่างปัญหาง่ายๆ สักหนึ่งข้อ มาใช้เพื่อทำการอธิบายประเด็นๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ให้เข้าใจก็แล้วกันนะครับ

ผมสมมติว่า ผมมีฐานรากแบบเสาเข็มของโครงสร้างอยู่ฐานหนึ่งที่จะต้องทำการถ่ายน้ำหนักใช้งานลงไปยังเสาเข็มมีค่าเท่ากับ 320 ตัน ผมจึงทำการกำหนดว่า ฐานรากแบบเสาเข็ม ของผมจะต้องรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 320 ตัน ดังนั้นจึงถือว่าผ่านการพิจารณาจากกรณีที่ (1) เรียบร้อยแล้ว

 

ผมจึงทำการจัดเสาเข็มกลุ่มขึ้นมากลุ่มหนึ่งเพื่อใช้รองรับฐานรากต้นนี้ โดยภายหลังจากที่ผมได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวโครงสร้างเสาเข็มและดินแล้วก็พบว่า ค่าความสามารถในการรับกำลังแบบใช้งานของเสาเข็มกลุ่มนี้จะมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 340 ตัน ซึ่งก็จะมีค่ามากกว่า 320 ตัน ดังนั้นจึงถือว่าผ่านการพิจารณาจากกรณีที่ (2) เรียบร้อยแล้ว

 

ต่อมาก็คือ จากค่าน้ำหนักบรรทุกดังกล่าวนี้จะทำให้เสาเข็มกลุ่มของผมนั้นมีค่าการทรุดตัวแบบ IMMEDIATE SETTLEMENT ทั้งหมดเท่ากับ 18 มม และมีค่าการทรุดตัวแบบ CONSOLIDATION SETTLEMENT ทั้งหมดเท่ากับ 250 มม ทั้งนี้พอตรวจสอบจากข้อกำหนดของงานออกแบบแล้วก็จะพบว่า เกณฑ์ค่าการทรุดตัวแบบ IMMEDIATE SETTLEMENT ของเสาเข็มนั้นจะมีค่าที่ยอมให้มากที่สุดไม่เกิน 20 มม และมีเกณฑ์ค่าการทรุดตัวแบบ CONSOLIDATION SETTLEMENT ของเสาเข็มจะมีค่าที่ยอมให้มากที่สุดไม่เกิน 200 มม ซึ่งนั่นก็จะแสดงว่าจากข้อมูลเรื่องค่าการทรุดตัวแบบ CONSOLIDATION SETTLEMENT ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 250 มม นั้นจะมีค่าเกินเกณฑ์ค่าการทรุดตัวแบบ CONSOLIDATION SETTLEMENT ของเสาเข็มซึ่งจะมีค่าที่ยอมให้มากที่สุดไม่เกิน 200 มม ดังนั้นจึงถือว่าไม่ผ่านการพิจารณาจากกรณีที่ (3) นะครับ

 

ดังนั้นแสดงว่าเสาเข็มของเรานั้นจะมีค่าการทรุดตัวแบบ CONSOLIDATION SETTLEMENT ที่เกิดขึ้นมากจนเกินไปจากค่าเกณฑ์ที่ยอมให้ ทำให้เราจำเป็นที่จะต้องทำการปรับลดกำลังในสภาวะการใช้งานของเสาเข็มกลุ่มนี้ลงมาให้น้อยกว่า 340 ตัน ดังนั้นเราจะต้องทำการวนรอบการออกแบบใหม่อีกครั้งหนึ่งนะครับ

 

หากผมสมมติว่า ผมได้ทำการปรับให้ค่าความสามารถในการรับกำลังแบบใช้งานของเสาเข็มกลุ่มนี้มีค่ากำลังที่ลดลงมาเหลือเพียงแค่ 330 ตัน

ในเมื่อค่าจากการที่กรณีที่ (1) ของเรานั้นมีค่าเท่ากับ 320 ตัน ดังนั้นค่าๆ นี้ก็จะมีค่าที่ “น้อยกว่า” 330 ตัน แบบนี้ก็จะถือได้ว่าการออกแบบของเราได้นั้นผ่านการพิจารณาจากกรณีที่ (1) เรียบร้อยแล้วนะครับ

 

ในเมื่อในขณะนี้ค่าความสามารถในการรับกำลังแบบใช้งานของเสาเข็มกลุ่มของเรานั้นมีค่าเท่ากับ 330 ตัน ซึ่งเป็นการปรับลดลงมาจากเดิมที่มีค่ากำลังสูงสุดอยู่ที่ 340 ตัน แน่นอนว่ากรณีนี้ก็จะผ่านเกณฑ์ในกรณีที่ (2) เช่นเดียวกันนะครับ

 

จากค่าน้ำหนักบรรทุกดังกล่าวนี้จะทำให้เสาเข็มนั้นมีค่าการทรุดตัวแบบ IMMEDIATE SETTLEMENT เท่ากับ 15 มม และมีค่าการทรุดตัวแบบ CONSOLIDATION SETTLEMENT เท่ากับ 170 มม เพราะว่าค่าทั้งสองนั้นมีค่าที่น้อยกว่าค่าการทรุดตัวในสภาวะใช้งานที่ยอมให้ของตัวเสาเข็มและดินแล้ว ในที่สุดเราก็จะถือได้ว่าการออกแบบของเรานั้นผ่านการพิจารณาจากกรณีที (3) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ

 

ในเมื่อการออกแบบของเรานั้นผ่านการพิจารณาทั้งจากกรณีที (1) (2) และ (3) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมก็จะสามารถทำการสรุปผลได้ว่า

 

เสาเข็มกลุ่มของผมจะมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานเท่ากับ 330 ตัน และมีค่าการทรุดตัวทั้งแบบ IMMEDIATE SETTLEMENT และ CONSOLIDATION SETTLEMENT ไม่เกินค่าจากเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดเอาไว้ในข้อกำหนดของงานออกแบบครับ

 

สาเหตุที่เราสามารถทำการกำหนดให้ค่าของ SAFE LOAD สูงสุดได้เพียงแค่ 330 ตัน เท่านั้นทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงนั้นผลจากการวิเคราะห์ของเราจะพบว่า ค่ากำลังในสภาวะการใช้งานของเสาเข็มกลุ่มนี้จะมีค่ามากที่สุดได้ถึง 340 ตัน เป็นเพราะว่าที่ค่าการใช้งานดังกล่าวนี้จะส่งผลทำให้ค่าการทรุดตัวของเสาเข็มกลุ่มของเรานั้นจะแสดงผลออกมามีค่าที่มากกว่าค่าที่ยอมให้ตามข้อกำหนดของการออกแบบนั่นเองนะครับ

 

ผมหวังว่าการที่ผมได้ทำการเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่องค่าความสามารถในการรับกำลังและค่าการทรุดตัวของเสาเข็มเดี่ยวและเสาเข็มกลุ่มในตลอดหลายๆ สัปดาห์ที่ผ่านนั้น น่าที่จะทำให้เพื่อนๆ ทุกคนได้รับความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและการทำงานเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ของเพื่อนๆ ได้มากพอสมควร ผมจึงคาดหวังไว้ว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยและจนกว่าเราจะกลับมาพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#สรุปเรื่องการรับกำลังของเสาเข็มเดี่ยวและกลุ่ม

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com