แรงภายในของโครงสร้างพื้นยื่นและวิธีในการพิจารณาออกแบบ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

 

สืบเนื่องจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานั้นได้เกิดเหตุโครงสร้างกันสาดนั้นเกิดการวิบัติลงมา ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่าคงจะมีเพื่อนๆ หลายๆ คนที่มีความสงสัยว่า เพราะเหตุใดหนอเจ้าโครงสร้างกันสาดนี้จึงได้วิบัติลงมาได้ เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาอธิบายถึงประเด็นๆ นี้ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบไปพร้อมๆ กันแต่ก่อนอื่น ผมคงต้องขออธิบายแบบออกตัวเอาไว้ตรงนี้ก่อนว่า ผมไม่ได้จะบอกว่า การที่ผมได้ทำการอธิบายในวันนี้เป็นเพราะผมทราบถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ผมเพียงแต่นำเอาหลักการและรูปแบบที่มีความเป็นไปได้ที่โครงสร้างนั้นจะสามารถเกิดการวิบัติได้เอามาอธิบายแก่เพื่อนๆ ก็เท่านั้นเองน่ะครับ

ผมอยากจะให้เพื่อนๆ ได้เริ่มต้นดูรูปบนสุดแรกที่ใช้ประกอบในการโพสต์ก่อน ซึ่งเพื่อนๆ จะเห็นว่าโครงสร้างกันสาดนั้นเป็นโครงสร้างแบบยื่นหรือ CANTILEVER STRUCTURE ชนิดหนึ่ง ซึ่งรูปที่เขียนโดยเส้นทึบและแรเงาด้วยสีเทาจะเป็นรูปแบบของโครงสร้างที่ยังไม่มีการเสียรูปหรือ UNDEFORMED CONFIGURATION ส่วนรูปที่เขียนโดยเส้นประจะเป็นรูปแบบของโครงสร้างที่ได้มีการเสียรูปไปแล้วหรือ DEFORMED CONFIGURATION ซึ่งพอเห็นรูปแบบของการเสียรูปจากจากรูปๆ นี้เราก็อาจจะสามารถเรียกเจ้าโครงสร้างกันสาดนี้ได้ว่าเป็นโครงสร้างพื้นยื่นหรือ CANTILEVER SLAB ก็ได้ โดยที่ 2 รูปข้างล่างจะเป็นรูปที่ผมตัดมาเฉพาะโครงสร้างพื้นยื่นหลังรูปตัด A-A เอามาแสดงให้ดูนะครับ

 

โดยที่รูปที่สองนั้นจะเป็นรูปที่แสดงให้เห็น เฉพาะ แรงกระทำจากภายในหรือ INTERNAL FORCE ที่เป็นแรงดัดหรือ MOMENT FORCE ที่จะทำให้หน้าที่ต้านทานแรงกระทำจากภายนอกหรือ EXTERNAL FORCE ที่จะทำให้โครงสร้างพื้นยื่นนั้นเกิดการเสียรูปตามที่ได้แสดงอยู่ในรูปแบบของโครงสร้างที่ได้มีการเสียรูปไปแล้ว ซึ่งหากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่าเจ้าแรงภายในแรงนี้เองที่เป็นแรงภายในที่มีความสำคัญมากที่จะทำให้ระบบโครงสร้างพื้นยื่นนี้ยังคงมีเสถียรภาพอยู่ได้ อธิบายง่ายๆ ก็คือ หากไม่มีเจ้าแรงภายในแรงนี้ โครงสร้างพื้นยื่นนี้ก็จะเกิดการเสียรูปแบบล้มพับลงไปในทันทีเลย ส่วนรูปสุดท้ายก็คือ รูปที่ 3 จะเป็นรูปที่แสดงให้เห็นถึง “แรงดึง” และ “แรงอัด” ซึ่งแรงทั้งสองนี้ถือว่าแรงที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่ง “ขอบบน” หรือ TOP FIBER และตำแหน่ง “ขอบล่าง” หรือ BOTTOM FIBER ซึ่งเป็นผลที่มาจากแรงดัดที่เกิดขึ้นในหน้าตัดของโครงสร้างพื้นยื่นนั่นเองครับ

 

เมื่อเพื่อนๆ ได้ดูรูปทั้งสามที่ผมได้นำเอามาแสดงในโพสต์ๆ นี้แล้ว เพื่อนๆ พอที่จะมองเห็นหรือคาดเดารูปแบบของการวิบัติที่โครงสร้างพื้นยื่นนี้จะมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเฉพาะการเกิดขึ้นของแรงดัดบ้างหรือไม่ครับ ?

 

ถูกต้องแล้วครับ รูปแบบของการวิบัติที่โครงสร้างพื้นยื่นนี้มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเฉพาะการเกิดขึ้นของแรงดัดก็คือ รูปแบบการวิบัติที่แรงดึงหรือ TENSION FAILURE และรูปแบบการวิบัติที่แรงอัดหรือ COMPRESSION FAILURE ซึ่งรูปแบบการวิบัติทั้งสองนี้วิศวกรผู้ออกแบบจำเป็นที่จะต้องทำการออกแบบมิให้เกิดขึ้นในโครงสร้างโดยเด็ดขาด โดยที่ในมาตรฐานการออกแบบยังได้ให้คำแนะนำเอาไว้ด้วยว่า วิศวกรผู้ออกแบบควรที่จะต้องทำการควบคุมให้รูปแบบวิกฤติที่จะเกิดการวิบัติหรือ CRITICAL FAILURE MODE นั้นเป็นไปในรูปแบบการวิบัติอันเนื่องมาจากแรงดึงเป็นหลักด้วยนะครับ

 

เอาเป็นว่าในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายถึงความหมายพร้อมกับยกตัวอย่างของรูปแบบการวิบัติทั้งสองทีได้กล่าวถึงไปข้างต้นนี้ พร้อมกับอธิบายด้วยว่าเหตุใดผมจึงได้อธิบายเอาไว้ว่า มาตรฐานการออกแบบได้ให้คำแนะนำเอาไว้ด้วยว่า วิศวกรผู้ออกแบบควรที่จะต้องทำการควบคุมให้รูปแบบวิกฤติที่จะเกิดการวิบัตินั้นเป็นไปในรูปแบบการวิบัติอันเนื่องมาจากแรงดึงเป็นหลัก ถ้าหากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะรอติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้ในการโพสต์ครั้งต่อไปได้นะครับ

 

ผมคาดหวังไว้ว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยและจนกว่าเราจะกลับมาพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันพุธ

#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

#แรงภายในของโครงสร้างพื้นยื่นและวิธีในการพิจารณาออกแบบ

#ครั้งที่1

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com