บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

คุณสมบัติของคอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

คุณสมบัติของคอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) หินและทราย: ตรวจสอบ GRADATION ตามข้อกำหนดของมวลรวมผสม มอก.397-2524 ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์: ตามข้อกำหนดของ ASTM DESIGNATION c150 TYPE1 หรือ TYPE3 หรือตามข้อกำหนด มอก.1397-2524 ประเภท1 หรือประเภท3 … Read More

ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ ปัญหาในวันนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนั่นก็คือเรื่องความเชื่อถือได้ของผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างโดยการคำนวณด้วยมือและการใช้ซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT นะครับ อย่างที่ผมได้เรียนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าหากเพื่อนๆ มีความต้องการที่จะวิเคราะห์ให้ได้คำตอบที่ถูกต้องแบบแม่นตรงแบบเป๊ะๆ เลยโดยการคำนวณด้วยมือ เพื่อนๆ ก็จำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์โดยรวมผลทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นในโครงสร้างจริงๆ เข้าไปในขั้นตอนของการวิเคราะห์ด้วย มิเช่นนั้นผลก็จะเกิดค่าความคลาดเคลื่อนออกไปเหมือนกับที่ผมได้ยกตัวอย่างให้ดูกันในสัปดาห์ที่แล้ว ในทำนองเดียวกันหากเราต้องการคำตอบที่แม่นยำที่เกิดขึ้นภายในโครงสร้างจริงๆ จากการใช้ซอฟต์แวร์ทาง … Read More

ตารางแสดงความลึกของหลุมเจาะสำหรับเป็นแนวทางการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัด

ตารางแสดงความลึกของหลุมเจาะสำหรับเป็นแนวทางการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัด ก่อนอื่น เริ่มต้นดูรูปที่แสดงตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัดกันก่อนนะครับ หากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ จะพบว่าช่องที่แสดงค่า ความลึกของหลุมเจาะ ในตารางๆ นี้จะมีความแตกต่างออกไปจากตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในเขตพื้นที่ กทม และ ปริมณฑล ที่เคยนำมาเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้นะครับ โดยที่ในช่องๆ นี้ของตารางที่แสดงนี้จะไมได้แสดงค่าความลึกของหลุมเจาะตรงๆ แต่ กลับแสดงว่าระยะนี้จะมีค่าเท่ากับระยะความลึกที่เมื่อทำการทดสอบ SPT เพื่อที่จะหาค่า N … Read More

ลักษณะโครงสร้างชั้นดินเหนียวกรุงเทพ หรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า BANGKOK CLAY

ดินเหนียวอ่อนโดยทั่วไปเป็นดินท่ีตกตะกอนอยู่บริเวณปากแม่น้ํา โดยลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณน้ำเม็ดดินจะถูกพัดพาจากแม่น้ำลงสู่ทะเลและน้ำทะเลก็หนุนกลับเข้ามาตกตะกอน ทําให้ชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีทั้งแบบตกตะกอนในแม่น้ําและในทะเล ซึ่งเป็นลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาตอนล่างหรือที่เรียกว่าดินเหนียวกรุงเทพ (Bangkok Clay) โดยมีลักษณะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนหนาประมาณ 10-15 เมตร ชั้นถัดไปจะเป็นชั้นดินเหนียวแข็งและชั้นทรายสลับกันไป ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ (Bangkok Clay) มีลักษณะชั้นดินและคุณสมบัติของดิน ดังนี้ ชั้น Crust ที่มีความลึกประมาณ 0-2 เมตร … Read More

1 104 105 106 107 108 109 110 169