บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

สนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตคืออะไร มีข้อเสียยังไง แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

ปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่ถูกสร้างมานานหลายปี ปัญหาที่เกิดจากการเกิดสนิมในเหล็กเสริมจะทำให้พื้นที่หน้าตัดของเหล็กลดลงและคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมเกิดรอยแตกร้าวหลุดร่อนออกไป ทำให้สูญเสียความสามารถในการรับแรง อาคารเก่าแก่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เมื่อเกิดปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตที่รุนแรง จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของอาคารและเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร กลไกการเกิดสนิมเหล็ก การเกิดสนิมเหล็กเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาเคมีของเหล็ก เป็นปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (electronchemical) ของเหล็กกับสารประกอบที่ปะปนในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับเหล็กนั้นๆ กระบวนการเกิดสนิมเหล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดสนิมในเหล็กที่มีวัสดุอื่นมาปกคลุมผิว เช่น โครงเหล็กของอาคารที่ผิวทาสีกันสนิมหรือในเหล็กเสริมคอนกรีต จะมีกระบวนการเกิดสนิมที่ซับซ้อน ค่อยเป็นค่อยไป   การเกิดสนิมเหล็ก … Read More

กลไกที่ทำให้การปรับเปลี่ยนมุมของอาคาร ช่วยลดความรุนแรงของแรงลมได้

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง การออกแบบงานวิศวกรรมลมและแผ่นดินไหว (WIND & SEISMIC ENGINEERING DESIGN หรือ WSE) นะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาอธิบายต่อถึงเหตุผลว่าด้วยกลไกที่ทำให้การปรับเปลี่ยนมุมของอาคารนั้นช่วยลดความรุนแรงของแรงลมได้กันต่ออีกสักโพสต์ก็แล้วกันนะครับ หากจะอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้การปรับเปลี่ยนมุมของอาคารนั้นช่วยลดความรุนแรงของแรงลมได้เราต้องย้อนกลับไปที่เรื่องกลศาสตร์ของไหล (MECHANICS OF FLUID) นะครับซึ่งจะมีความละเอียดและซับซ้อนพอสมควรนะครับ ผมจึงจะขออนุญาตทำการอธิบายแต่เพียงสังเขปก็แล้วกันนะครับ สาเหตุหลักๆ … Read More

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับค่าประสิทธิผลของการตอกเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการตอบปัญหาให้แก่เพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนที่ผมเห็นว่าได้ทำการสอบถามกันเข้ามาหลายคนเลย ผมจึงได้ทำการรวบรวมคำถามข้อนี้ออกมาโดยมีใจความโดยรวมว่า   “เวลาที่เราทำการคำนวณหาค่าการทรุดตัวของเสาเข็มหรือ PILE DISPLACEMENT ที่จะใช้เวลาที่ทำการตอกในสิบครั้งสุดท้ายของการตอกเสาเข็มหรือที่เรานิยมเรียกกันว่า LAST … Read More

วิธีการทำบ่อสังเกตการณ์ หรือ OBSERVATION WELL

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ สืบเนื่องจากเนื้อหาในสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้พูดถึงเรื่อง ผลของระดับน้ำใต้ดิน และผมก็ได้แจ้งไปด้วยว่า ในวันนี้ผมจะขออนุญาตพูดถึงวิธีในการที่พวกเรานิยมนำมาใช้ในการตรวจสอบหาค่าของระดับน้ำใต้ดินที่ค่อนข้างให้ผลที่น่าเชื่อถือมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ คนนะครับ   โดยที่วิธีการแรกที่ผมตั้งใจที่จะนำเอามาหยิบยกเล่าให้เพื่อนๆ ฟังในวันนี้ก็คือ วิธีการทำบ่อสังเกตการณ์ หรือ … Read More

1 122 123 124 125 126 127 128 169