ปรับปรุงฐานรากโรงงาน แม้ตอกในพื้นที่จำกัด ไม่ส่งกระทบต่อโครงสร้างเดิม ด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micropile
ปรับปรุงฐานรากโรงงาน แม้ตอกในพื้นที่จำกัด ไม่ส่งกระทบต่อโครงสร้างเดิม ด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micropile เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ภูมิสยาม เป็นเสาเข็มที่นิยมใช้ในงานต่อเติม เช่นต่อเติมโรงงาน การปรับปรุงซ่อมแซมฐานรากที่เกิดการทรุดตัว หรือส่วนที่ต้องการต่อเติม ทำให้ฐานรากมีความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งข้อดีที่สำคัญของเสาเข็มสปันไมโครไพล์ คือเป็นเสาเข็มที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการเหวี่ยงคอนกรีตในแบบหล่อ ทำให้เสาเข็มเกิดรูกลมกลวงตรงกลางจากแรงเหวี่ยง ช่วยลดแรงดันของดินขณะตอกแรงสั่นสะเทือนน้อย แม่ตอกในพื้นที่จำกัด ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง และปั้นจั่นที่ใช้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ … Read More
คอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE)
คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยการนำเหล็กเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต โดยเฉพาะในเรื่องความเปราะและการรับแรงดึง กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดกำลังคือ คอนกรีตรับแรงอัดและเหล็กเสริมรับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดได้ดีแต่มีความอ่อนแอในการรับแรงดึง ดังนั้นเมื่อรับน้ำหนักจะเกิดการแตกร้าวจากการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดหน่วยแรงดึงเกินกว่าที่คอนกรีตจะรับได้ ในคานคอนกรีตโมเมนต์ดัดที่เกิดขึนบนหน้าตัดจะถูกต้านทานโดยคู่ควบแรงอัด-แรงดึงในคอนกรีต คานดังกล่าวจะวิบัติอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดรอยร้าวครั้งแรก ในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเส้นจะถูกเสริมเข้าไปในคอนกรีตเพื่อรับแรงดึงทำหน้าท่ีแทนคอนกรีตหลังเกิดการแตกร้าว เพื่อทำหน้าท่ีเป็นแรงคู่ควบร่วมกับแรงอัดในคอนกรีตในการต้านทานโมเมนต์ดัดท่ีเกิดจากน้ำหนักบรรทุก เหล็กและคอนกรีตท้างานร่วมกันอย่างดีเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและคอนกรีตมีเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเลื่อนไถลของเหล็กเสริม … Read More
ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ExplainingAboutPDeltaAffect
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ เมื่อประมาณ 2 ถึง 3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับเพื่อนๆ ในเฟซบุ้คส่วนตัวของผมเกี่ยวกับเรื่องขั้นตอนต่างๆ ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเสา ซึ่งเนื้อหาในวันนั้นผมได้พูดถึงหลายๆ หัวข้อที่มีความน่าสนใจ เช่น ค่า MAGNIFICATION … Read More
การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (PLASTIC SHRINKAGE CRACKING)
การแตกร้าวของถนนนั้นมักจะเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตกำลังแข็งตัวหรือเป็นที่รู้จักกันในเชิงวิชาการคอนกรีตว่า การแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking) ซึ่งนอกจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับงานถนนแล้วยังเกิดกับงานประเภทพื้นที่อยู่กลางแจ้งอื่นได้อีกด้วย อาทิ พื้นนอาคาร, ดาดฟ้าและลานประเภทต่างๆ เป็นต้น การแตกร้าวในลักษณะน้ีจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ต่างกับการแตกร้าวเนื่องจากคอนกรีตหดตัวแบบแห้งซึ่งจะเป็นเส้นค่อนข้างตรง และยาว ที่มักจะเกิดข้ึนเมื่อไม่มีการตัดรอยต่อที่ถูกต้อง สาเหตุของการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก การที่คอนกรีตเกิดการแตกร้าวแบบนี้มีสาเหตุมาจากคอนกรีตหดตัวอย่างเฉียบพลันในช่วงที่ยังอยู่ในสภาพยังไม่แข็งตัว (Pre-hardened Stage) ซึ่งคอนกรีตในช่วงนี้แทบจะไม่มีความสามารถในการรับแรงเค้นที่เกิดจากแรงดึง (Tensile … Read More