สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการแนะนำและให้คำอธิบายแก่เพื่อนๆ ทุกคนได้มีความรู้พื้นฐานรวมไปถึงการทำความรู้จักกันกับค่าๆ หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันกับการเจาะสำรวจดินโดยตรงค่าหนึ่งนั่นก็คือ ค่าสัดส่วนความปลอดภัยในการออกแบบเสาเข็ม นั่นเองนะครับ
ถูกต้องครับ ตัวผมนั้นเคยพูดถึงค่าๆ นี้ไปแล้วหลายครั้งแล้วเช่นกัน แต่ ไหนๆ เราก็กำลังพูดถึงเรื่อง การทดสอบดิน อยู่ก็เอาเป็นว่าผมจะขออนุญาตนำเรื่องๆ นี้มา สรุป และ พูดซ้ำ กันอักสักรอบก็แล้วกันนะครับ
สำหรับค่า ส่วนปลอดภัย หรือ SAFETY FACTOR ที่เรานำมาใช้ในการออกแบบเสาเข็มนั้นจะมีวิธีในการพิจารณาโดยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังต่อไปนี้ครับ
(1) ค่าความสำคัญของโครงสร้างอาคาร
(2) ค่าความแปรปรวนของชั้นดิน
(3) ค่าความเป็นไปได้ที่จะทำการทดสอบแบบเต็มขนาด
(4) ค่าความเป็นไปได้ที่น้ำหนักบรรทุกในการใช้งานจะมีค่าสูงเท่ากันกับค่าน้ำหนักบรรทุกที่ใช้ในการออกแบบ ตลอดอายุการใช้งานของอาคาร
(5) คุณภาพของกระบวนการเจาะสำรวจชั้นดิน
(6) คุณภาพของ การก่อสร้าง และ การควบคุมงานการก่อสร้าง
(7) ประเภท และ จำนวน ตย ของการทดสอบดิน
ทั้งนี้จากข้อที่ (1) ซึ่งก็คือ ค่าความสำคัญของโครงสร้างอาคาร เราจึงมีการกำหนดประเภทของโครงสร้างของอาคารเอาไว้ทั้งหมด 3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
(A) TEMPORARY STRUCTURE
ได้แก่อาคารที่จะได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานไม่เกิน 25 ปี เช่น โครงสร้างอาคารที่พักชั่วคราวต่างๆ หรือ ส่วนต่อเติมต่างๆ ของ อาคารสำนักงาน หรือ อาคารโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
(B) PERMANENT STRUCTURE
ได้แก่อาคารที่จะได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป แต่ ไม่เกิน 100 ปี เช่น โครงสร้างสะพานของ ถนน และ ทางรถไฟ หรือ โครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ เป็นต้น
(C) MONUMENTAL STRUCTURE
ได้แก่อาคารที่จะได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานมากกว่า 100 ปีขึ้นไป เช่น โครงสร้างสะพานขนาดใหญ่ หรือ โครงสร้างของอาคารพิเศษ เป็นต้น
เมื่อทำการพิจารณาทุกๆ อย่างตามเงื่อนไขในข้อที่ (1) และ (6) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็อาจที่จะเลือกใช้ค่าสัดส่วนความปลอดภัยในการออกแบบเสาเข็มได้ตามตารางที่แสดงอยู่ในโพสต์ๆ นี้ก็ได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน
#ค่าสัดส่วนความปลอดภัยที่เหมาะสมซึ่งจะนำไปใช้ในการออกแบบเสาเข็ม
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com