วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG
โดยที่ในวันนี้ผมจะขอทำการแทรกเนื้อหาการนำผลการทดสอบดินที่ผมไปพบมาจากการทำงานจริงๆ ของผมมาเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ ก็แล้วกันนะครับ
โครงการก่อสร้างแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณซอยของถนนรามคำแหง ซึ่งหากดูแบบหยาบๆ และผิวเผินแล้วก็อาจจะพบว่าสภาพของชั้นดินนั้นน่าที่จะมีความปกติเพราะดินเดิมนั้นเป็นดินที่มีอยู่เดิม และ จะมีส่วนดินใหม่ที่เปผ้นดินถมที่ผิวซึ่งมีความหนาประมาณ 1.5-2 ม เท่านั้นเองนะครับ
ไล่ตั้งแต่ดินชั้นบนๆ โดยเฉพาะที่ด้านล่างนั้นค่อนข้างที่จะเป็นดินที่มีความสม่ำเสมอในระดับปานกลางนะครับ คือ มีการแปรปรวนที่ไม่มากจนเกินไปนัก และ ต้องถือว่าดินชั้นบนๆ นั้นเป็นชั้นดินที่มีความ อ่อนมาก ถึง อ่อนปานกลาง ซึ่งตามปกติแล้วดินชั้นบนๆ จะเป็นชั้นดินเหนียว ดินชั้นล่างๆ จะเป็นดินเหนียวปนทราย หรือ ไม่ก็ทรายล้วน แต่หากสังเกตจากรูปที่ 1 จะเห็นเห็นได้ว่า ชั้นดินจะเกิดการวางตัวแบบสลับกันไปสลับกันมานะครับ
ตามปกติแล้วยิ่งเสาเข็มของเราวางอยู่ลึกลงไปเท่าใดก็จะยิ่งมีค่าความสามารถในการรับกำลังที่สูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่หากดูจากรูปที่ 2 ซึ่งเป็นเข็มสั้น ความลึกของเสาเข็มตั้งแต่ 1 ถึง 3 เมตร ค่าความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.91 ตัน/ต้น แต่ พอที่ความลึกเท่ากับ 4 เมตร จะพบว่าดินจะมีความสามารถในการรับกำลังที่ลดต่ำลงไปเป็น 1.10 ตัน/ต้น และค่อยเพิ่มค่าขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ
หากดูรูปที่ 3 เราจะทราบกันตามปกติว่า ชั้นดินโดยทั่วไปในเขต กทม หากใช้เข็มไอขนาด 300 มม ที่ความลึก 21 ม ค่าความสามารถในการรับ นน จะอยู่ที่ประมาณ 30 ตัน/ต้น หากยิ่งเพิ่มความยาวของเสาเข็มให้มากยิ่งขึ้นค่าความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นไปตามลำดับ แต่ สำหรับกรณีนี้ หากเราทำการกำหนดความยาวเสาเข็มให้เท่ากับ 21 ม เราจะพบว่าค่าความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มจะอยู่ที่ 29 ตัน/ต้น แต่ พอดูที่ชั้นความลึกที่ 22 ม คือถัดลงไปจากชั้น 21 ม ลงไปอีกเพียง 1 ม ค่าความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มจะลดลงไปเหลือ 25 ตัน/ต้น นั่นเป็นเพราะตรงนี้เราเจอชั้นดินที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไป นั่นคือชั้นดินข้างล่างมีความอ่อนตัวกว่าชั้นดินด้านบน โดยเป็นเพียงชั้นบางๆ กั้นเอาไว้ซึ่งมีความหนาประมาณ 2 ม ดังนั้นตามหลักการในการออกแบบเสาเข็มที่ดีและถูกต้องนั้น เราต้องทำการออกแบบให้เสาเข็มนั้นสามารถที่จะมีค่าความสามารถในการรับ นน ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ความลึกของเสาเข็มที่ประมาณ 25 ม นั่นเองครับ
โดยรูปที่ 4 จะเป็นรูปแผนภูมิแสดง BORING LOG ของชั้นดิน ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความแกว่งของค่า SPT-N VALUES ซึ่งจะยืนยันถึงข้อมูลการทดสอบดินตามที่ผมได้แจ้งไปก่อนหน้านี้ครับ
ในวันพฤหัสบดีหน้าผมจะขออนุญาตมาพูดถึงข้อแนะนำสำหรับ จำนวน และ ระดับความลึก ของหลุมเจาะเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบฐานรากและเสาเข็ม หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้ต่อไปในสัปดาห์หน้านะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน
#ขั้นตอนในการเจาะสำรวจดิน
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 081-634-6586
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun