วิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่การตอกเสาเข็มนั้นไม่เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้
ในรูป (A) เป็นรูปการวางตำแหน่งของเสาเข็มตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ในแบบ โดยจะสังเกตได้ว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ออกแบบมักที่จะทำการกำหนดให้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเสาเข็มนั้นมีระยะไม่น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 3 เท่าของ D โดยที่ D คือ ระยะเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มนะครับ เพราะ หากให้ระยะนี้น้อยกว่า 3 เท่าของ D จะทำให้แรงเค้นในมวลดินนั้นเกิดการซ้อนทับกัน (STRESS OVERLAP) ซึ่งจะทำให้เสาเข็มนั้นมีค่าความสามารถในการรับกำลังที่ต่ำลงไปจากสภาวะปกติ หรือ หากจะให้ระยะนี้มากกว่า 3 เท่าของ D ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการทำให้ฐานรากนั้นมีขนาดใหญ่กว่าปกติมาก ซึ่งก็จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองทั้ง คอนกรีต และ เหล็กเสริม มากจนเกินไปนะครับ
ในรูป (B) เป็นรูปที่แสดงถึงการที่เสาเข็มที่ทำการตอกลงไปนั้นเกิดการผิดตำแหน่งไป (PILE DEVIATE) เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้จะเป็นการทำให้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเสาเข็มนั้นมีระยะที่ น้อยกว่า และ มากกว่า 3 เท่าของ D นะครับ ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่ต้องการๆ ที่เสาเข็มนั้นจะมีระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเสาเข็มนั้นมีระยะที่ น้อยกว่า 3 เท่าของ D เพราะ จะเป็นการทำให้ นน บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม (SAFE LOAD) นั้นมีค่าที่ลดลงไปจากสภาวะปกตินะครับ
ในรูป (C) เป็นรูปที่แสดงถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในรูป (B) นะครับ ซึ่งที่ผมนำมายก ตย ในวันนี้เป็นการแก้ปัญหาโดยการตอกเสาเข็มใหม่แซมเสาเข็มเดิมที่ตอกผิดไปจากตำแหน่งที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบไว้นะครับ สาเหตุที่เรานิยมแก้ปัญหาด้วยวิธีการนี้เป็นเพราะว่าเมื่อระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเสาเข็มนั้นมีระยะที่ น้อยกว่า 3 เท่าของ D และ นน บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มนั้นลดลงไปจากสภาวะปกติ แต่ ประเด็นสำคัญจริงๆ ก็คือ กำลังของเสาเข็มที่ลดลงไปนั้นมีค่าเป็นเท่าไหร่ หรือ สุดท้ายแล้วค่า นน บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มจริงๆ จะเป็นเท่าไหร่ คำถามเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลของสิ่งต่างๆ มากมายในการวิเคราะห์นะครับ เช่น ข้อมูลลักษณะของชั้นดิน ข้อมูลหน้าตัดของโครงสร้างเสาเข็ม เป็นต้น ดังนั้นเราจึงมักที่จะให้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเสาเข็มนั้นมีระยะเท่ากับ 3 เท่าของ D เอาไว้ก่อนนะครับ
หากเพื่อนๆ สังเกตดูในรูป (C) นะครับ เราจะเห็นได้ว่าภายหลังการตอกเสาเข็มแซมนั้น เสาเข็มเดิมที่ถูกทำการตอกลงไปผิดตำแหน่ง (เสาเข็มที่ถูกแรเงาไว้) จะยังคงอยู่ในฐานรากนะครับ สำหรับประเด็นนี้เพื่อนๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลไปนะครับ เพราะ เมื่อเราแก้ปัญหาด้วยวิธีการนี้ เรามีข้อควรทำ คือ ให้เราทำการตัดหัวของเสาเข็มต้นที่ถูกตอกผิดตำแหน่งไปนี้ให้มีระดับที่ ต่ำกว่า ระดับของหัวเสาเข็มต้นอื่นๆ ในฐานรากอย่างน้อยประมาณ 1 ฟุต หรือ 30 ซม เพื่อเป็นการแน่ใจว่าเสาเข็มต้นที่เกิดปัญหานี้จะไม่ใช่เสาเข็มที่ต้องรับ นน จากตัวโครงสร้างฐานรากนะครับ เพราะ เมื่อเสาเข็มต้นนี้ไม่ได้รับ นน แล้วก็จะไม่เป็นการทำให้เกิดแรงเค้นรอบๆ ตัวของเสาเข็มต้นนี้นั่นเองนะครับ
ในวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำแก่เพื่อนๆ ถึงวิธีในการแก้ปัญหาเมื่อทำการตอกเสาเข็มผิดตำแหน่งไปโดยวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติมกันนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1522740957772024
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449