การออกแบบวิศวกรรมพลศาสตร์ (STRUCTURAL DYNAMICS ENGINEERING หรือ SDE)

การออกแบบวิศวกรรมพลศาสตร์ (STRUCTURAL DYNAMICS ENGINEERING หรือ SDE)

micropile spun micropile spunmicropile เสาเข็มไมโครไพล์

เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าเวลาที่ผมมักจะพูดถึง การออกแบบฐานรากรองรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ (LARGE MACHINE FOUNDATION) ที่มีการสั่นตัวมาก (LARGE VIBRATION AMPLITUDE) ทางผู้ออกแบบเค้ามีวิธีการดูอย่างไรว่าโครงสร้างที่รองรับเครื่องจักรเหล่านี้มีความใช้ได้แล้ว ? สามารถที่จะทำการก่อสร้างเพื่อที่จะใช้เป็นฐานรากเพื่อรองรับเครื่องจักรนั้นๆ ได้แล้ว ?

วันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมาทำการไขข้อข้องใจในข้อสงสัยประการนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบไปพร้อมๆ กันนะครับ

ในความเป็นจริงนั้นในการออกแบบฐานรากรองรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีการสั่นตัวมาก ทางผู้ออกแบบไม่สามารถที่จะดูและเปรียบเทียบค่าการเสียรูปที่ยอมให้ (ALLOWABLE DISPLACEMENT) กับค่าการเคลื่อนตัวสูงสุด (MAXIMUM DISPLACEMENT) ในโครงสร้างที่ทำหน้าที่รองรับเครื่องจักรตามหลักการในการออกแบบโครงสร้างแบบสถิตศาสตร์ทั่วๆ ไปได้นะครับ เพราะ ลักษณะของการเสียรูปที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นไปในลักษณะที่เป็นแบบพลศาสตร์ พูดง่ายๆ คือตัวฐานรากจะเกิดการเสียรูปไปเสียรูปมาในโหมดของการสั่นไหวตามความถี่ของคลื่นที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรที่ตัวโครงสร้างฐานรากนี้จะรองรับด้วยนั่นเองนะครับ

ดังนั้นในชั้นตอนนี้เราจำเป็นที่จะต้องนำหลักการทางด้านพลศาสตร์ของโครงสร้างมาใช้ประเมินและวิเคราะห์มาใช้แล้ว ซึ่งจริงๆ ก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธีนะครับ แต่ วิธีการที่ผมจะนำมาแนะนำกับเพื่อนๆ ในวันนี้จะเป็นวิธีการหนึ่งที่เรานิยมนำมาใช้กัน นั่นก็คือ แผนภูมิภาพที่แสดงถึงระดับของการยอมรับได้และความรู้สึก หรือ PERCEPTION GRAPH (เพื่อนดูรูปประกอบได้นะครับ)

แผนภูมิอันนี้ถูกสร้างขึ้นตามหลักการของทางด้านพลศาสตร์ของโครงสร้าง โดยร่วมกันกับการเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากคนที่ต้องทำงานอยู่กับโครงสร้างที่จะต้องทำหน้าที่ในการต้านทานการเคลื่อนตัวแบบพลศาสตร์ชนิดต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เช่น เครื่องจักรหนัก สะพาน ทางเดินลอย เป็นต้น

หลักการง่ายๆ ในการใช้งานแผนภูมินี้คือ เราจะต้องทำการคำนวณเสียก่อนนะครับว่าโครงสร้างของเรานั้นมีค่าความถี่ตามธรรมชาติของการสั่นตัวเท่ากับเท่าใด (FREQUENCY) จากนั้นก็ต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีพลศาสตร์ตามกรณีของ นน บรรทุกแบบพลศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ (DYNAMIC LOAD CASE) เพื่อที่ดูว่าโครงสร้างของเรานั้นมีปริมาณค่าการเสียรูปเชิงพลศาสตร์มากที่สุด (DISPLACEMENT AMPLITUDE) เท่ากับเท่าใด

เมื่อนำค่าความถี่ตามธรรมชาติของการสั่นตัวมาพล็อตทางแกน X และนำปริมาณค่าการเสียรูปเชิงพลศาสตร์มากที่สุดมาพล็อตทางแกน Y เราจะลากเส้นตัดทั้ง 2 แกนเพื่อที่จะดูว่าตำแหน่งของเส้นตัดนี้จะตกอยู่ในบริเวณ ZONE ใด โดยที่ในแผนภูมินี้จะแบ่ง ZONE ออกเป็นช่วงๆ ตามระดับของความรู้สึก (PERCEPTION) ซึ่งในที่สุดก็จะสามารถบอกให้เราทราบได้นะครับว่าโครงสร้างของเรานั้นมีระดับของความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานมากหรือน้อยเพียงใดนะครับ

เป็นยังไงบ้างครับ ? หวังว่าในวันนี้เพื่อนๆ น่าที่จะพอเข้าใจถึงหลักในการการออกแบบโครงสร้างเชิงพลศาสตร์กันไปพอสังเขปกันแล้วใช่มั้ยครับ ?

เอาเป็นว่าในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตนำรายการคำนวณทางด้านพลศาสตร์โครงสร้างมาฝากแก่เพื่อนๆ ก็แล้วกัน หากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1623053707740748
BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์