ตารางที่แสดงค่าความลึกของหลุมเจาะที่เราควรที่จะใช้ในการทดสอบดิน
หากขึ้นชื่อว่าเป็นวิศวกรที่ดี เรามักที่จะต้องเป็นนักปฎิบัติงานที่ต้องทำงานภายใต้มาตรฐานการทำงานที่ดีและมีความเชื่อถือได้ ทั้งนี้เพราะเมื่อต้องนำหลักการหนึ่งหลักการใดจากมาตรฐานเหล่านี้ไปปฎิบัติใช้ในการทำงานจริงๆ ได้เราก็ต้องสามารถที่จะอ้างอิงไปยังมาตรฐานนั้นๆ ได้ด้วยนะครับ ซึ่งผมถือว่าส่วนหนึ่งของคำถามข้อนี้นั้นเป็นความบกพร่องของผมเองนะครับที่ไม่ได้ทำการกล่าวอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลๆ นี้นะครับ ยังไงผมจะขออนุญาตเก็บประเด็นนี้เอาไว้เพื่อที่จะดำเนินการแก้ไขในการโพสต์ครั้งต่อๆ ไปนะครับ เอาเป็นว่าผมขออนุญาตตอบคำถามข้อนี้เลยก็แล้วกันนะครับ
ข้อมูลที่ผมได้ให้คำแนะนำไปกับเพื่อนๆ ไปนั้นมีการอ้างอิงมาจากเอกสารหนังสือ แนวทางการตรวจสอบชั้นดินเพื่องานฐานราก ในหน้าที่ 13 ถึง 14 ซึ่งได้จัดทำโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย โดยเป็นเอกสารที่ถูกพิมพ์ไปเมื่อปี พศ 2548 นั่นเองนะครับ โดยที่เพื่อนๆ สามารถที่จะดูรูปที่ 1 ประกอบได้นะครับ
เพื่อนๆ สามารถหาซื้อเอกสารเล่มนี้ได้จากศูนย์หนังสือชั้นนำทั่วๆ ไปเลยนะครับ หรือ หากจะให้แน่นอนไปเลยก็คือไปหาซื้อได้ที่ ศูนย์หนังสือที่จะมีที่ตั้งอยู่ใต้ตึกทำการของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยเลยนั่นเองนะครับ
จริงๆ แล้วตารางที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ไปนั้นเป็นตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในเขตพื้นที่ กทม และ ปริมณฑล นะครับ ซึ่งตัวตารางเต็มๆ นั้นจะอยู่ในรูปที่ 2 ที่ผมได้แนบมาด้วยนะครับ
ดังนั้นในวันพรุ่งนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตนำข้อมูลและตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัด มาเล่าบ้าง พร้อมกันกับนำข้อมูลมาถกกันด้วยว่าเพราะเหตุใดข้อมูลจากทั้งสองตารางนี้จึงมีความแตกต่างกันนะครับ เพื่อนๆ ท่าในใดสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้ และ ข่าวสารเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1570891242956995
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
ทาง
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com
#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์