สวัสดีครับ Mr.เสาเข็ม มาแล้วนะครับ มาพร้อมความรู้และสาระดีดี เกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรม วันนี้จะมาในเรื่องของ การคำนวณหาค่าเจาะจง (EIGENVALUE PROBLEM)
หากจะทำการเปรียบเทียบระหว่างการคำนวณหาค่าคำตอบต่างๆ ในการวิเคราะห์ผลตอบสนองต่างๆ ของโครงสร้างนั้น ก็เสมือนกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่งนะครับ ในบางครั้งการคำนวณในระดับที่มีความละเอียดซับซ้อนมากๆ ก็อาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบที่ค่อนข้างนานกว่าปกติ โชคดีว่าในปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่ง เครื่องคิดเลขหรือเครื่องคำนวณ ที่ต้องถือว่าทรงพลังมากกว่าในอดีตเยอะมากๆ ในการช่วยในการคำนวณของเรานะครับ
ในบางครั้งพอทำการคำนวณเสร็จ คำตอบที่ได้ก็จะมีหลายคำตอบ เนื่องจากพฤติกรรมของโครงสร้างนั้นมีความสลับซับซ้อนค่อนข้างมาก เช่น การวิเคราะห์ผลตอบสองของโครงสร้างเนื่องจากแผ่นดินไหว เป็นต้น ดังนั้นการคำนวณหาค่า EIGENVALUE จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหานี้นั่นเองครับ
หนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งในการคำนวณทางพีชคณิตเชิงเส้นก็ คือ EIGENVALUE PROBLEM ซึ่งเป็นปัญหาที่ว่าการกำหนดให้เมตริกซ์ A ใดๆ นั้นจะมีเวกเตอร์ v ที่ไม่เป็นศูนย์อยู่ หรือ ไม่ที่ทำให้ค่า Av = λv สำหรับปริมาณสเกลาร์ λ บางตัวซึ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์หลายอย่างนะครับ โดยโปรแกรมที่ผมจะขอหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในวันนี้ก็คือ STAAD.PRO อีกเช่นเคยนะครับ สาเหตุที่ผมมักจะนำโปรแกรมนี้มากล่าวถึงเป็นเพราะว่าผมเองใช้โปรแกรมนี้อยู่นั่นเองนะครับ ผมจึงพอที่จะมีความรู้ ความเข้าใจถึงโปรแกรมๆ นี้บ้าง ซึ่งวิธีการแก้ปัญหา EIGENVALUE PROBLEM ในโปรแกรม STAAD.PRO นั้นจะทำการแก้ปัญหาโดยอาศัยกระบวนที่มีชื่อเรียกว่า EIGEN EXTRACTION METHOD โดยวิธีการนี้จะเป็นการนำเมตริกซ์ความแข็งแกร่ง (STIFFNESS MATRIX) หรือ เมตริกซ์ [K] และ เมตริกซ์มวล (MASS MATRIX) หรือ เมตริกซ์ [M] มาทำการ OPERATE ร่วมกันเพื่อทำการแก้ปัญหาๆ นี้นะครับ
โดยหลักการในการแก้ปัญหา EIGENVALUE PROBLEM ที่ผมจะขอกล่าวถึงในที่นี้เป็นเพียงการยก ตย ให้ฟังก็แล้วกันนะครับ หากว่าเรามีเมตริกซ์ A และ ต้องการหาค่า EIGENVALUE ของเมตริกซ์ A เราจะต้องเริ่มต้นทำการหาค่า DETERMINANT ของเมตริกซ์ A-λI เสียก่อน โดยที่ค่า I คือ IDENTITY MATRIX และแทนค่าให้คำตอบของสมการนี้เท่ากับ ศูนย์ หรือเขียนใหม่ได้ว่า
det ( A – λI ) = 0
จากนั้นก็ทำการแก้ปัญหาโดยทำการหาค่าคำตอบของ λ นี้ออกมา โดยที่ค่า λ นี้เราอาจที่จะใช้วิธีเป็นการแทนค่าลงไปก่อนเพื่อทำการ ITERATIVE ค่าที่ถูกต้องออกมาก็ได้นะครับ เพราะ พอเราแทนค่าหาคำตอบออกมาแล้วก็มีวิธีในการตรวจสอบค่าความถูกต้องของค่า λ นี้นะครับ ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับว่าความสะดวกในเรื่องเครื่องมือที่เราจะใช้ในการคำนวณนะครับว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด จากนั้นเราก็จะสามารถทำการแก้ปัญหา EIGENVALUE นี้ออกมาได้ครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1508899669156153
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449