การวิเคราะห์โครงสร้างด้วยซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT

18893297_1411214375591350_2319088095787146602_n1

ref: https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1411214752257979

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขอมาขยายความต่อจากโพสต์เมื่อวานกันสักนิดอีกสักโพสต์นะครับ ทั้งนี้เพื่อที่เพื่อนๆ จะได้มีความเข้าใจในเรื่องนี้ให้มากยิ่งขึ้น และ จะได้สามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้งานได้ในสถานการณ์จริงๆ นะครับ
เรามาดู ตย ที่ผมเตรียมมาให้เพื่อนๆ ได้ดูกันในวันนี้เลยนะครับ เริ่มจากผมมีคานฝากซึ่งรับ CONCENTRATED LOAD ขนาด 10,000 kgf ซึ่งมีความยาวของคานเท่ากับ 4 m ฝากบนคานหลักทางด้าน ขวา และ ซ้าย มือที่มีความยาวเท่าๆ กันคือ 6 m โดยที่คานฝากและคานหลักทางขวามือจะมีขนาดเท่ากัน ส่วนคานหลักทางด้านซ้ายมือจะมีขนาดใหญ่กว่ามากๆ (ดูรูปที่ 1 ประกอบนะครับ)
ถ้าหากว่าเราจะใช้หลักการอย่างง่ายตามวิธีคิดที่ผลกล่าวถึงเมื่อวาน จะพบว่าวิธีในการถ่าย นน จะเป็นแบบง่าย คือ จะมีเฉพาะแรงกระทำในแนวดิ่งเท่านั้น โดยที่คานทั้งสองข้างต้องรับ นน เท่าๆ กัน คือ 10,000/2 = 5,000 kgf ดังนั้นจะทำให้คานหลักทั้งสองมีขนาดโมเมนต์ดัดแบบลบมีค่าเท่ากับ PL/8 = (5,000)(6)/8 = 3,750 kgf-m นะครับ (ดูรูปที่ 2 ประกอบ)
เราจะมาดูผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT เพื่อเปรียบเทียบผลจากที่วิเคราะห์โดยวิธีการอย่างง่ายกันบ้างนะครับ
จะพบว่า นน บรรทุกต่างๆ ของคานฝากที่ถูกถ่ายแรงมาให้แก่คานหลักจะถือว่าคนละเรื่องกับวิธีการแรกเลยนะครับ คือ จะมีทั้งแรงดัด และ แรงกระทำในแนวดิ่ง จากคานฝากกระทำกับคานหลักด้วยนะครับ
จะเห็นได้ว่าค่าแรงดัดที่ปลายของคานหลักตัวขวาจะมีค่าเท่ากับ 3,263 kgf-m ซึ่งจะน้อยกว่า 3,750 kgf-m อยู่เล็กน้อย ส่วนคานทางซ้ายมือ จะมีค่าเท่ากับ 4,237 kgf-m ซึ่งจะมากกว่า 3,750 kgf-m อยู่เล็กน้อยเช่นกัน (ดูรูปที่ 3 ประกอบ)
จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ก็เพราะว่า STIFFNESS ของคานหลักทั้งสองข้างจะมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งในที่นี้ STIFFNESS ของตัวขวาจะมีค่าน้อยกว่า STIFFNESS ของตัวซ้ายเนื่องจากคานทั้งสองนี้มีขนาดความยาวที่เท่าๆ กัน แต่ จะมีขนาดของโมเมนต์ความเฉื่อยที่ต่างกันนั่นเอง
ก็หวังว่าเมื่อเพื่อนๆ ได้เห็น ตย นี้แล้วจะเกิดความเข้าใจแล้วนะครับว่าในบางครั้งเมื่อเราต้องวิเคราะห์โครงสร้างคานในระบบ GRID ที่ขนาดของคานหลักและคานรองที่ใกล้เคียงกัน เราก็พอที่จะเลือกใช้วิธีการถ่ายแรงโดยวิธีอย่างง่ายได้ แต่ เมื่อเราต้องวิเคราะห์โครงสร้างที่จะมีขนาดของคานที่ต่างกันมากๆ การเลือกใช้วิธีการถ่าย นน อย่างง่ายก็อาจไม่เหมาะสมเสมอไปนะครับ โดยเราอาจจะเลือกใช้วิธีการจำลองโดยละเอียด หรือ อาจจะเลือกใช้โปรแกรมทาง FINITE ELEMENT เพื่อช่วยในการวิเคราะห์โครงสร้างก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้สามารถทำการออกแบบเหล้กเสริมในคานหลักและคานรองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และ ประหยัด นั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตรฐาน 397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด