ref: https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1419154818130639:0
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะนำความรู้เกี่ยวกับเรื่อง นั่งร้าน ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในงานก่อสร้างมาฝากให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ
นั่งร้านสำหรับงานก่อสร้างที่พบเห็นกันได้ทั่วไปตามสถานที่ก่อสร้าง คือ เป็นอุปกรณ์ที่มีเอาไว้เพื่อรองรับน้ำหนักของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สิ่งของ ผู้ปฏิบัติงาน ณ สถานที่ก่อสร้าง โดยที่นั่งร้านนี้มักจะวางอยู่สูงเหนือระดับทั่วๆ ไปที่คนปกติไม่สามารถจะปฏิบัติงานได้โดยสะดวก ดังแสดงตัวอย่างอยู่ในรูปที่แนบมานะครับ
หากเพื่อนจะต้องเป็นผู้ควบคุมงานและจะต้องไปทำการสำรวจตรวจสอบงานนั่งร้าน ณ สถานที่ก่อสร้างสิ่งที่เพื่อนๆ ควรใส่ใจเป็นพิเศษจะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้
1) ตรวจสอบว่าประเภทของนั่งร้านที่ใช้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานหรือไม่
2) ตรวจสอบชนิดของนั่งร้านให้เหมาะกับสัดส่วนต่างๆ ของอาคาร เช่น ความสูง เป็นต้น
3) ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรงและเสถียรภาพของโครงสร้างนั่งร้าน
4) ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรงและเสถียรภาพของฐานที่รองรับนั่งร้าน
5) ตรวจสอบการขยายชั้นทางด้านความสูง
6) ตรวจสอบการขยายชั้นทางด้านข้าง
7) ตรวจสอบการต่อเสานั่งร้านให้ปลอดภัย
8) ตรวจสอบว่านั่งร้านจะต้องมีทางเดินระหว่างชั้นหรือบันไดหรือไม่และชนิดของบันไดที่จะใช้และระบบการป้องกันการลื่นตกของบันไดที่เหมาะสม
9) ตรวจสอบบริเวณพื้นที่ใต้นั่งร้านว่าคนสามารถจะเดินผ่านได้หรือไม่ในกรณีพื้นที่แคบๆ
10) ตรวจสอบการยึดโยงค้ำยันต่างๆ (CROSS BRACING)
11) ตรวจสอบแผ่นรองรับน้ำหนักที่ฐาน (BASE PLATE)
12) ตรวจสอบข้อต่อยึดระหว่างท่อน (INTERLOCKING)
13) ตรวจสอบลูกล้อ (CASTER)
14) ตรวจสอบข้อต่อสลักเกลียว ข้อหมุนสำหรับปรับมุมฉากและปรับมุมเอียง (JOINTS)
15) ตรวจสอบน้ำหนักบรรทุกทุกประเภททั้งแนวดิ่งและแนวราบที่กระทำต่อนั่งร้าน
16) ตรวจสอบชนิดของนั่งร้านที่ออกแบบใช้งานเฉพาะเป็นพิเศษในกรณีที่ไม่ใช่นั่งร้านธรรมดา
17) ตรวจสอบความปลอดภัยในการยึดนั่งร้านสูงๆ เพื่อมิให้เซหรือล้มลงมา
18) ตรวจสอบวิธีการป้องกันอันตรายอันจะเกิดจากของตกจากที่สูงลงสู่เบื้องล่าง
19) ตรวจสอบวิธีการป้องกันอันตรายให้แก่คนงานที่ทำงานอยู่บนที่สูง
20) ตรวจสอบนั่งร้านลอย (SWING SCAFFOLD) ควรต้องตรวจสอบรายลฃะเอียดปลีกย่อยดังต่อไปนี้ด้วยนะครับ
– ตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้เลื่อนขึ้นหรือลงและเลื่อนไปทางแนวนอน
– ตรวจสอบชนิดของฐานรองรับพื้นของนั่งร้าน (PLAT FORM) ที่ใช้
– ตรวจสอบเข็มขัดนิรภัย (SAFETY BELT)
– ตรวจสอบวัสดุหิ้ว (PLATFORM LIFE-LINE)
– ตรวจสอบจำนวนคนที่ขึ้นไปทำงานพร้อมกับอุปกรณ์ที่ติดไปด้วย
– ตรวจสอบราวกันตกและวัสดุที่ใช้ปิดราวกันตกกับพื้นของฐานรองรับพื้นของนั่งร้าน
– ตรวจสอบไฟฟ้ารั่วว่าเกิดขึ้นกับนั่งร้านหรือไม่
ในโพสต์ต่อไปผมจะขอพูดถึงเนื้อหาโดยย่อของประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ว่าด้วยนั่งร้าน ซึ่งมีการประกาศใช้ไว้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2525 ซึ่งได้มีการกล่าวถึงหัวข้อเรื่องนั่งร้านเอาไว้ด้วย โดยที่ผมจะขอทำการสรุปเฉพาะใจความสำคัญของประกาศดังกล่าวเพื่อให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจกันพอสังเขปนะครับ อย่างไรเพื่อนๆ ที่สนใจก็สามารถติดตามกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตรฐาน 397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด