ref: https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1422207031158751:0
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
ช่วงนี้ผมมีงานออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างตัวหนึ่งที่ต้องไปทำการก่อสร้าง ณ เขต พท ริมชายทะเลของจังหวัดชลบุรี ในการออกแบบผมได้เลือกทำการกำหนดให้ใช้คอนกรีตชนิดพิเศษในงานก่อสร้าง ผมเห็นว่าน่าที่จะมีประโยชน์หากนำความรู้ตรงนี้มาเผยแพร่แก่ทุกๆ ท่านด้วย จึงเป็นที่มาของโพสต์ในวันนี้เกี่ยวกับเรื่อง ความคงทนของโครงสร้างคอนกรีต (DURABILITY OF CONCRETE STRUCTURES) เมื่อต้องมีการใช้งานในเขตชายฝั่งทะเลนะครับ
เพื่อนๆ เคยสงสัยหรือไม่ครับ ว่าเหตุใดเราจึงมักที่จะได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่าเมื่อเราทำการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตในพื้นที่ๆ อยู่ติดกันกับชายฝั่งทะเลในระยะรัศมีตั้งแต่ 0 ถึง 10 กิโลเมตร อายุการใช้งานของโครงสร้างเหล่านั้นจะมีค่าน้อยกว่าโครงสร้างทั่วๆ ไปที่ก่อสร้างในเขตพื้นที่อื่นๆ ?
สาเหตุนั้นเป็นเพราะว่าในตัวน้ำทะเลจะมีองค์ประกอบทั้งแร่คลอไรด์และแร่ซัลเฟตอยู่ การที่ในน้ำทะเลมีแร่เหล่านี้อยู่จะส่งผลเสียต่อโครงสร้างโดยที่ซัลเฟตจะทำปฎิกิริยากับตัวคอนกรีตจนทำให้เนื้อของคอนกรีตเกิดการขยายตัวจนแตกร้าว ซึ่งจะส่งผลทำให้โครงสร้างคอนกรีตที่แตกร้าวนั้นสูญเสียค่าความสามารถในการรับกำลังไป ซ้ำร้ายกว่านั้นคือเมื่อผิวด้านนอกของคอนกรีตเกิดการแตกร้าวจะทำให้ไอหรือว่าตัวน้ำทะเลที่อยู่รอบๆ นั้นสามารถที่จะซึมเข้าไปในเนื้อคอนกรีตได้ สำหรับโครงสร้าง คสล ตัวแร่คลอไรด์ก็จะทำปฎิกิริยากับเหล็กเสริมภายในคอนกรีตจนทำให้เกิดสนิมในเนื้อของเหล็กเสริมได้ เมื่อเหล็กเสริมเกิดสนิมเพื่อนๆ คงไม่ต้องจินตนาการต่อนะครับว่าผลเสียที่เกิดขึ้นต่อโครงสร้างจะเป็นเช่นไร
โดยหากเราต้องทำงานก่อสร้างในพื้นที่ชายฝั่งทะเลเราก็อาจป้องกันปัญหาอย่างที่ผมได้ยก ตย ไปก่อนหน้านี้ได้หลายวิธีการนะครับ เช่น เลือกใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดพิเศษ ประเภทปอซโซลาน สำหรับงานโครงสร้าง หรือ เรียกทั่วๆ ไปว่า มารีนซีเมนต์ (MARINE CEMENT) ซึ่งจะเหมาะสำหรับโครงสร้างที่ก่อสร้างในพื้นที่ชายฝั่งทะเล หรือพื้นที่ๆ เป็นน้ำกร่อยที่โครงสร้างต้องสัมผัสกับไอทะเลหรือน้ำทะเลตลอดเวลา หรือ เกือบจะตลอดเวลา โดยคุณสมบัติพิเศษของปูนชนิดนี้คือ ทำให้โครงสร้างที่เป็นคอนกรีตนั้นมีความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารซัลเฟต และ ต้านทานต่อการซึมผ่านของสารคลอไรด์ได้ดีกว่าปูนทั่วๆ ไป หรือ เมื่อต้องทำการออกแบบรายละเอียดของงาน คสล สำหรับโครงสร้างประเภทนี้ก็อาจจะต้องทำการกำหนดให้ใช้ระยะที่คอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมที่มีระยะมากกว่าโครงสร้าง คสล ทั่วๆ ไป เพราะยิ่งระยะนี้มีค่ามากเพียงใดก็จะช่วยป้องกันหรือลดโอกาสที่จะทำให้แกนที่เป็นเหล็กเสริม (STEEL CORE) นี้เกิดสนิมได้ เป็นต้น
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตรฐาน 397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด