ref: https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1405608952818559:0
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขอมาตอบคำถามน้องวิศวกรท่านเดิมต่อเนื่องจากโพสต์ที่แล้วของผมนะครับ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ผมได้กล่าวถึงเรื่อง Pcr หรือ CRITICAL LOAD หรือว่า BUCKLING LOAD ว่าเหตุใดผมถึงได้กล่าวว่าหากทำการจำลองโครงสร้างด้วย PINNED แทนที่จะเป็น SPRING ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของเรา เหตุใดจึงทำให้ค่า Pcr มีค่าสูงกว่าการจำลองในแบบที่สองนะครับ
ก่อนอื่นไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องนี้แล้ว ผมขอย้อนอธิบายให้เพื่อนๆ พอเข้าใจกันพอสังเขปถึงเรื่อง Pcr ก่อนก็แล้วกันนะครับ
ค่า Pcr นั้นคือค่า P น้อยที่สุด ที่จะทำให้โครงสร้างเกิดการโก่งเดาะ ซึ่งค่า Pcr นั้นสามารถหาได้จากการแก้สมการ DIFFERENTIAL EQUATION ซึ่งหากเพื่อนๆ สนใจที่มาที่ไปของสมการๆ นี้ในโอกาสหน้าหากผมมีโอกาส ผมจะมา DERIVE สมการนี้ให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันนะครับ แต่ หากรอไม่ได้หรือว่าใจร้อนอยากจะทราบเร็วๆ ก็ขอแนะนำให้ศึกษาต่อในวิชา STRUCTURAL STABILITY ได้นะครับ
หากเราทำการวิเคราะห์โครงสร้างคานที่มีจุดรองรับเป็นแบบ PINNED และเราทำการแก้สมการ DIFFERENTIAL EQUATION ของโครงสร้างออกมาจะพบว่าคำตอบค่า Pcr จะมีค่าเท่ากับ
Pcr = n^(2) π^(2) EI / L^(2)
โดยที่ n คือ จำนวน CURVATURE ที่เกิดขึ้นกับโครงสร้าง ดังนั้นค่า Pcr ที่น้อยที่สุดที่จะเกิดขึ้นก็คือเมื่อค่า n หรือ ค่าจำนวนของ CURVATURE มีค่าเท่ากับ 1 ทำให้ค่า Pcr มีค่าเท่ากับ
Pcr = π^(2) EI / L^(2)
โดยหากเปลี่ยนสภาพของจุดรองรับเป็นแบบ FIXED ทั้งสองข้างจะทำให้ค่า n เพิ่มขึ้นเป็น 4
สำหรับกรณีนี้ค่า Pcr จะมีค่าเท่ากับ
Pcr = 16 π^(2) EI / L^(2)
โดยหากเปลี่ยนสภาพของจุดรองรับเป็นแบบ FIXED ข้างหนึ่งและอีกข้างหนึ่งเป็น FREE จะทำให้ค่า n ลดลงเป็น 0.25
สำหรับกรณีนี้ค่า Pcr จะมีค่าเท่ากับ
Pcr = 0.0625 π^(2) EI / L^(2)
จะสังเกตได้ว่ายิ่งโครงสร้างมีความแข็งแรงเนื่องจากสภาพจุดรองรับที่แตกต่างกันมากเพียงใด ก็จะยิ่งทำให้มีค่า Pcr ที่สูงขึ้นนั่นเองครับ
จากการที่ผมได้เล่าถึงจุดๆ นี้ผมขอวกกลับมาตอบคำถามน้องวิศวกรท่านนี้นะครับ จากในภาพที่ผมโพสต์เมื่อวานเราจะสังเกตได้ว่าระยะ L ของ CURVATURE ที่เกิดขึ้นในภาพแรกจะมีค่าที่น้อยกว่าของในภาพที่สองนะครับ ดังนั้นหากพูดถึงสภาพของจุดรองรับที่เหมือนๆ กัน ต่างกันที่ความยาวช่วงของ CURVATURE ซึ่งค่า L เป็นตัวหารของสมการ Pcr ยิ่งค่า L มีค่ามากก็จะยิ่งทำให้ค่า Pcr มีค่าน้อย ในทางกลับกันยิ่งค่า L มีค่าน้อยก็จะยิ่งทำให้ค่า Pcr มีค่ามากนั่นเอง
ซึ่งหากเราทำการประมาณค่า Pcr ที่มากเกินความเป็นจริง (มากจนเกินที่จะเป็นไปได้) ก็จะทำให้สิ้นเปลืองโครงสร้าง INTERMEDIATE BRACING มากจนเกินนั่นเองครับ
คิดว่าการที่ผมได้อธิบายถึงเรื่องๆ นี้ก็น่าที่จะทำให้น้องวิศวกรท่านนี้เกิดความเข้าใจในประเด็นๆ นี้เพิ่มเติมยิ่งขึ้นแล้วนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตรฐาน 397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด